ชัชวาลย์ ชมภูแดง
ชัชวาลย์ ชมภูแดง | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กันยายน พ.ศ. 2488 (73 ปี) อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด |
พรรคการเมือง | พลังธรรมใหม่ |
คู่สมรส | บุญยืน ชมภูแดง |
ชัชวาลย์ ชมภูแดง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) อดีตหัวหน้าพรรคพลังสังคมประชาธิปไตย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติ[แก้]
ชัชวาลย์ ชมภูแดง เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายปัดสา กับนางมะลิวรรณ ชมภูแดง มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] สมรสกับนางบุญยืน มีบุตร 3 คน
งานการเมือง[แก้]
ชัชวาลย์ ชมภูแดง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคพลังใหม่[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคพลังสังคมประชาธิปไตย ซึ่งนายชัชวาลย์ เป็นหัวหน้าพรรค และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคต่อมาในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้ย้ายเข้ามาเป็นรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม[3] ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกเป็น ส.ส.อีก 2 สมัย คือ การเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคชาติไทยทั้ง 2 สมัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายชัชวาลย์ ชมภูแดง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคภูมิใจไทย[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางเอมอร สินธุไพร จากพรรคเพื่อไทย
ใน พ.ศ. 2561 นายชัชวาลย์ได้ย้ายเข้ามาสังกัด พรรคพลังธรรมใหม่ โดยรับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรค
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตจากเว็บไซต์ กกต. (สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2554)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดร้อยเอ็ด
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- พรรคพลังใหม่
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติไทย
- พรรคมหาชน
- พรรคภูมิใจไทย
- พรรคพลังธรรมใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.