สรวงศ์ เทียนทอง
สรวงศ์ เทียนทอง | |
---|---|
สรวงศ์ ในปี พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 32 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 326 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | ประดิษฐ สินธวณรงค์ |
ก่อนหน้า | ชลน่าน ศรีแก้ว |
ถัดไป | สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ |
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 344 วัน) | |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ จันทรรวงทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2545–2550) ประชาราช (2550–2554) เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ญาณิกา เทียนทอง |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
สรวงศ์ เทียนทอง (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518) ชื่อเล่น บอย เป็นนักการเมืองชาวไทย บุตรชายของนายเสนาะ เทียนทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประวัติ
[แก้]สรวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เป็นบุตรคนโตของนายเสนาะ เทียนทอง กับนางอุไรวรรณ เทียนทอง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จาก Johnson & Wales University ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ ญาณิกา เทียนทอง (สกุลเดิม: ธงพานิช) มีบุตร 2 คน
การทำงาน
[แก้]สรวงศ์ เทียนทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้วครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง ในสังกัดพรรคประชาราช ซึ่งมีนายเสนาะ เทียนทอง บิดา เป็นหัวหน้าพรรค และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สาม ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
สรวงศ์ เทียนทอง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 แทนนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[2] แทนนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในระหว่างรักษาการ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย[3] ในขณะที่สมาชิกในตระกูลเทียนทองคนอื่น ๆ เช่น ฐานิสร์ เทียนทอง และ ตรีนุช เทียนทอง ลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่สรวงศ์ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[5] และในปี พ.ศ. 2567 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สรวงศ์ เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย ดังนี้
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคประชาราช
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ คณะรัฐมนตรีให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทน
- ↑ "'สรวงศ์ เทียนทอง' สวมเสื้อเพื่อไทย ลงพื้นที่หาเสียงเขต 3 มั่นใจทวงแชมป์ ส.ส. 100%". มติชนออนไลน์. 2019-01-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ช็อก! ทีมบ้านใหญ่ "ป๋าเหนาะ" แพ้พลังประชารัฐยกจังหวัด". www.newtv.co.th. 2019-03-25.
- ↑ "เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". ทีเอ็นเอ็น 16. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สรวงศ์ เทียนทอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
ประเสริฐ จันทรรวงทอง | เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |