สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ. | |
---|---|
![]() | |
สุวัจน์ ลิปตพัลลภในปี 2553 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
ถัดไป | พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พิศาล มูลศาสตรสาทร |
ถัดไป | ยิ่งพันธ์ มนะสิการ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (66 ปี) จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคชาติพัฒนา |
คู่สมรส | พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[1] ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง เป็นหนึ่งในแกนนำพรรครวมชาติพัฒนา[2] (ปัจจุบันคือ พรรคชาติพัฒนา) แต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ประวัติ[แก้]
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายวิศว์ ลิปตพัลลภ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ (สกุลเดิม : ศักดิ์สมบูรณ์) นับเป็นบุตรคนที่สามในพี่น้องทั้งหมด 5 รายจากรายนามต่อไปนี้ นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน[3]นายเสวี ลิปตพัลลภ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[5], อดีตที่ปรึกษา สบ.10[6] และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ประธานสโมสรนครราชสีมา เอฟซี สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา
สุวัจน์ ลิปตพัลลภจบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู รัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
สมรสกับ พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ นายพสุ ลิปตพัลลภ และ น.ส.พราวพุธ ลิปตพัลลภ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ มีเครื่องบินส่วนตัวหนึ่งลำได้แก่ HS-SPL ย่อมาจาก Mr Suwat Liptapanlop
ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]
นายสุวัจน์ เริ่มเข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (1)[7] พ.ศ. 2534 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (2)[8]
ภายหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2535 นายสุวัจน์ ได้เข้าร่วมกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกร ทัพพะรังสี และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งพรรคชาติพัฒนาขึ้น[9]
ในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[10] และในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของชวลิต ยงใจยุทธ[11] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร (1)[12] และ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้นไม่นานก้ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (2)[13]
นายสุวัจน์ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ต่อจากนายกร ทัพพะรังสี ซึ่งลาออกไปร่วมกับพรรคไทยรักไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 นายสุวัจน์ จึงประกาศยุบพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[14] จึงได้นำสมาชิกในกลุ่มย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
การกีฬา[แก้]
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556 และดำรงตำแหน่งนายกลอนเทนนิสสมาคมอีกด้วยและประธานกิตติมศักดิ์ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2536 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2548 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[17]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/272/T_0016.PDF
- ↑ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตัวจริงรวมใจไทยชาติพัฒนา
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000136453
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/216/20.PDF
- ↑ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068690
- ↑ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU5Ua3hNalExTnc9PQ==&subcatid=
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ http://www.giggog.com/politic/cat3/news8348/
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒ เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔ เล่ม ๑๑๐ ตอน ๒๐๐, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ หน้า ๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข, ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดราชบุรี
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.