เดชอิศม์ ขาวทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดชอิศม์ ขาวทอง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 29 วัน)
ก่อนหน้าประพร เอกอุรุ
เขตเลือกตั้งเขต 5
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ.2566
(0 ปี 135 วัน)
ก่อนหน้าเฉลิมชัย ศรีอ่อน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 353 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วรวิทย์ ขาวทอง

10 เมษายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2542—2550)
ประชาธิปัตย์ (2553—ปัจจุบัน)
คู่สมรสจาราณกุมารี กุมแก้ว (หย่า)
สุภาพร กำเนิดผล (ปัจจุบัน)
บุตร6
ศิษย์เก่าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพนักการเมือง
ชื่อเล่นชาย

เดชอิศม์ ขาวทอง (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2507, ชื่อเดิม วรวิทย์ ขาวทอง, ชื่อเล่น : ชาย)[1] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษามูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

เดชอิศม์ ขาวทอง เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายเฟือน และ นางแก้ว ขาวทอง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [2]ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางจาราณกุมารี กุมแก้ว และมีบุตรนอกสมรส กับนางสาวสุภาพร กำเนิดผล รวมมีบุตร-ธิดา 6 คน

งานการเมือง[แก้]

เดชอิศม์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ สมาชิกสภาจังหวัดสงขลา เขตอำเภอรัตภูมิ และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา[3] เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ในปี 2564 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แทน นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ[1]

ในปี 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการเลือกตั้งเขามีบทบาทในการพยายามนำพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยการพบปะหารือกับทักษิณ ชินวัตร ในต่างประเทศ[4][5] ต่อมาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีมติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค งดออกเสียงให้กับเศรษฐา ทวีสิน แต่ท้ายที่สุดเขากับสมาชิกในกลุ่มได้ลงมติสวนทางกับมติพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงมติเห็นชอบให้เศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรี[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เดชอิศม์ ขาวทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 เดชอิศม์ ขาวทอง รอง หน.พรรค-แม่ทัพปักษ์ใต้ ปชป.
  2. นายเดชอิศม์ ขาวทอง
  3. ​ผ่าวิชั่นนายกชาย เดชอิศม์ ขาวทอง การเมืองยุคใหม่ต้องเดินหน้าหมดเวลาขัดแย้ง
  4. หึ่ง!! “เดชอิศม์” บินพบ ”ทักษิณ” เพิ่มปชป.ร่วมซูเปอร์ดีล
  5. "เดชอิศม์" ยอมรับเจอ "ทักษิณ" ที่ฮ่องกงจริง! ชี้ ปชป. ควรร่วมรัฐบาล
  6. 16 สส.ประชาธิปัตย์ แหกมติพรรค โหวตนายก “เศรษฐา ทวีสิน”
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๒๒ มกราคน ๒๕๖๔