วิชิต แสงทอง
วิชิต แสงทอง ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2474 |
เสียชีวิต | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (78 ปี) |
คู่สมรส | พรสม แสงทอง |
นายวิชิต แสงทอง เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 2 สมัย[1]
ประวัติ[แก้]
วิชิต แสงทอง เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2474 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปฯ ใน พ.ศ. 2520[2]
วิชิต แสงทอง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ต่อมาได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติพัฒนา
วิชิต แสงทอง ตกเป็นจำเลยฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถส่งไปทำงานในต่างประเทศได้ และร่วมกันฉ้อโกง ตามคดีดำหมายเลขดำ อ.2336/2550 ซึ่งต่อมาศาลสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากจำเลยเสียชีวิต[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ จำหน่ายคดี “วิชิต แสงทอง” ตุ๋นแรงงาน เหตุเสียชีวิต!
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙) ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2474
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลจากจังหวัดศรีสะเกษ
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคพลังธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- บุคคลจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.