ประสงค์ บูรณ์พงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสงค์ บูรณ์พงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าพิศาล มูลศาสตรสาทร
ถัดไปฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2526 - 2535)
ความหวังใหม่ (2535 - 2545)
ไทยรักไทย (2545 - 2550)
พลังประชาชน (2550 - 2551)
เพื่อไทย (2556 - 2561, 2566 - ปัจจุบัน)
เสรีรวมไทย (2561 - 2566)
คู่สมรสจันทร บูรณ์พงศ์

นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] สังกัดพรรคเสรีรวมไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน

ประวัติ[แก้]

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เป็นชาวตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นนักการเมืองชาวนครพนม ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [2]

การทำงาน[แก้]

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมระยะเวลากว่า 20 ปี โดยได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม และเคยได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2517

ต่อมาจึงได้หันเข้าสู่งานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526[3] เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2531[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 (รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ)[5] ต่อมาในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2539 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ ในปีเดียวกัน

ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เคยได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2 คน คือ นายชวน หลีกภัย และ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

นายประสงค์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 84[7]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย[8] ต่อมาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการลงมติเลือกรองประธานสภาคนที่ 2 โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย และนายประสงค์ ได้รับการเสนอชื่อ จำนวน 2 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกตั้งนายศุภชัย 256 เสียง และนายประสงค์ 239 เสียง[9]

ในปี 2566 นายแพทย์ประสงค์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย เพื่อไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[10]ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 นาย ศักดา บูรณ์พงศ์ สมาชิกสภาจังหวัด บุตรชายนายประสงค์ถึงแก่กรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  3. น.พ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ อดีต ส.ส.นครพนม 10 สมัย[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  6. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  9. ศุภชัย ชนะ นพ.ประสงค์ 256 ต่อ 239 คว้า รองประธานสภา คนที่ 2 ฉลุย
  10. “หมอสงค์” ประกาศทิ้งเสรีรวมไทย ซบเพื่อไทย หนุนแลนด์สไลด์
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]