มีชัย วีระไวทยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีชัย วีระไวทยะ
มีชัย ในปี พ.ศ. 2551
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(1 ปี 364 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปสุวิทย์ ยอดมณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มกราคม พ.ศ. 2484 (83 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (2514–ปัจจุบัน)

มีชัย วีระไวทยะ (17 มกราคม พ.ศ. 2484) กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[1]กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[2] อดีตนักแสดงชาวไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลมีชื่อเสียงจากบทบาทการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย สำหรับการคุมกำเนิด และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนทำให้ช่วงนั้นคนไทยนิยมเรียกชื่อถุงยางอนามัยว่า "ถุงมีชัย"

ประวัติ[แก้]

พระชลธารวินิจฉัย (กัปตันฉุน) ทวดของเขา เป็นกัปตันของกองเรือพาณิชย์สยาม[3]

มีชัยเกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายแพทย์ สมัค วีระไวทยะ กับแพทย์หญิง อิสซาเบลลา แมคคินนอน "เอลลา" โรเบิร์ตสัน[4] มีพี่น้องสี่คน

สกุลของบิดาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน มีบรรพบุรุษอพยพจากทางตอนใต้ของจีนเข้ามาลงหลักปักฐานในจังหวัดสมุทรสงครามตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา[5] บิดาได้ทุนเล่าเรียนหลวงจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่ประเทศอังกฤษ[6] เขาเป็นหลานป้าของคุณหญิงจำนง พิณพากย์พิทยเภทผู้ได้รับทุนหลวงจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสำหรับศึกษาต่อด้านพยาบาลที่สหรัฐ[3] ส่วนสกุลของเอลลา มารดา เป็นชาวสกอตชนชั้นกลางค่อนไปทางสูง มีตาคือเดวิด แอนเดอร์สัน โรเบิร์ตสัน เป็นข้าราชการกรมศุลกากรของอังกฤษ[4]

มีชัยได้รับการเลี้ยงดูอย่างไทย ใช้ภาษาไทย ไปโรงเรียนไทย ถือธรรมเนียมไทย และศึกษาศาสนาพุทธเช่นเดียวกับเด็กไทยทั่วไป[7] ด้วยความที่มีบิดาเป็นชาวพุทธ และมารดาเป็นแองกลิคัน มารดาจึงไม่บังคับให้ลูกนับถือศาสนาใดแต่ให้ศึกษาไปก่อน แม้จะเคยพาลูก ๆ ไปคริสตจักรไคร้สตเชิชบ้างนาน ๆ ครั้ง มีชัยกล่าวว่าปัจจุบันตนยังไม่เลือกว่าจะนับถือศาสนาใด[8]

จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

สมรสกับท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ นามเดิม หม่อมราชวงศ์หญิงบุตรี กฤดากร

การทำงาน[แก้]

นายมีชัย วีระไวทยะ เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[9] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[10][11] 2 สมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก[12]อีกหลายสมัย

ในปี พ.ศ. 2513 นายมีชัย ได้รับบทบาทแสดงนำเป็น โกโบริ ในละครเรื่อง คู่กรรม ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม

นายมีชัยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2537 และรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2552 (เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  2. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  3. 3.0 3.1 ไผ่นอกกอ, หน้า 48
  4. 4.0 4.1 ไผ่นอกกอ, หน้า 43
  5. ไผ่นอกกอ, หน้า 49
  6. ไผ่นอกกอ, หน้า 47
  7. ไผ่นอกกอ, หน้า 77
  8. ไผ่นอกกอ, หน้า 83-84
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
บรรณานุกรม
  • มีชัย วีระไวทยะ และสนธิ เตชานันท์. ไผ่นอกกอ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2561

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า มีชัย วีระไวทยะ ถัดไป
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี