พรรคชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคชาติไทย
หัวหน้าบรรหาร ศิลปอาชา
เลขาธิการประภัตร โพธสุธน
คำขวัญสามัคคี ก้าวหน้า มั่นคง
ก่อตั้ง19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ยุบ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551(34 ปี 13 วัน)
ถัดไปพรรคชาติไทยพัฒนา
ที่ทำการเลขที่ 1 ถนนพิชัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม[1]
จุดยืนฝ่ายขวา[2]
โฆษกจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคชาติไทย (อังกฤษ: Chart Thai Party) เป็นอดีตพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยม ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พร้อมกับพรรคพลังประชาชนและพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากทำผิดกฎหมายเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่ของพรรคที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรคก็ได้ก่อตั้งพรรคชาติไทยพัฒนาขึ้นเป็นพรรคที่สืบต่อจากพรรคชาติไทย[3]

ประวัติ[แก้]

ป้ายหาเสียงของพรรคชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2519

พรรคชาติไทยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดย พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) บุตรชายจอมพลผิน ชุณหะวัณ พี่เขยคือ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร (ยศในขณะนั้น) และพลตรีศิริ สิริโยธิน ทั้งสามเป็นสมาชิกของ กลุ่มซอยราชครู ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางทหาร เศรษฐกิจ และการเมืองที่จอมพลผินเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น พรรคชาติไทยเป็นตัวแทนของฝ่ายขวาและกลุ่มสนับสนุนการทหารในการเมืองไทยในช่วงปีที่ค่อนข้างเสรีและเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2519[2]

ในระหว่างการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 พรรคเรียกร้องให้ ขวาพิฆาตซ้าย ซึ่งหัวหน้าพรรคและรองนายกรัฐมนตรีคือ พลตรีประมาณ ได้ประกาศในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกวาดล้างขบวนการนักศึกษา ซึ่งสุดท้ายก็ถูกประหารใน การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]

ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ พ.ศ. 2519, 2522, 2526 และ 2529 พรรคชาติไทยเป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดเป็นอันดับสองเสมอมา มีเพียงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2526 ถึง พ.ศ. 2529 เท่านั้นที่พรรคชาติไทยเป็นพรรคฝ่ายค้าน นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ระบุว่า สำหรับนักการเมืองแล้วการอยู่ฝ่ายค้านก็เหมือนอดตาย[5]

รายนามหัวหน้าพรรคชาติไทย[แก้]

  1. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2517 - 2529) ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2535-2537)
  2. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529-2534
  3. พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ พ.ศ. 2534-2535
  4. นายบรรหาร ศิลปอาชา พ.ศ. 2537 - 2551 (อายุงาน 14 ปี)

รายนามรองหัวหน้าพรรคชาติไทย[แก้]

  1. ศิริ ศิริโยธิน (พ.ศ. 2517)[6]

รายนามเลขาธิการพรรคชาติไทย[แก้]

  1. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2517[6]
  2. บรรหาร ศิลปอาชา พ.ศ. 2523
  3. เสนาะ เทียนทอง พ.ศ. 2537 - 2539
  4. ปองพล อดิเรกสาร พ.ศ. 2540

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค[แก้]

ดูบทความหลัก: คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น[7]

ภายหลังการยุบพรรคชาติไทยแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค และสมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน โดยมีชุมพล ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค

รายนามกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[แก้]

  1. บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค
  2. สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรค
  3. วินัย วิริยกิจจา รองหัวหน้าพรรค
  4. จองชัย เที่ยงธรรม รองหัวหน้าพรรค
  5. อนุรักษ์ จุรีมาศ รองหัวหน้าพรรค
  6. กัญจนา ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรค
  7. นิกร จำนง รองหัวหน้าพรรค
  8. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
  9. ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รองหัวหน้าพรรค
  10. ประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรค
  11. เกษม สรศักดิ์เกษม รองเลขาธิการพรรค
  12. ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ รองเลขาธิการพรรค
  13. จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองเลขาธิการพรรคและโฆษกพรรค
  14. นพดล พลเสน รองเลขาธิการพรรค
  15. มณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง)
  16. ธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ เหรัญญิกพรรค
  17. กมล จิระพันธุ์วาณิช กรรมการบริหารพรรค
  18. กูเฮง ยาวอหะซัน กรรมการบริหารพรรค
  19. ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ กรรมการบริหารพรรค
  20. ธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ กรรมการบริหารพรรค
  21. บุปผา อังกินันท์ กรรมการบริหารพรรค
  22. บัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย กรรมการบริหารพรรค
  23. ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ กรรมการบริหารพรรค
  24. ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ กรรมการบริหารพรรค
  25. ปอรรัชม์ ยอดเณร กรรมการบริหารพรรค
  26. มงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์ กรรมการบริหารพรรค
  27. ยุทธนา โพธสุธน กรรมการบริหารพรรค
  28. รัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
  29. วราวุธ ศิลปอาชา กรรมการบริหารพรรค
  30. วิพัฒน์ คงมาลัย กรรมการบริหารพรรค
  31. วิรัช พิมพะนิตย์ กรรมการบริหารพรรค
  32. วิชิต แย้มบุญเรือง กรรมการบริหารพรรค
  33. ศักดิ์ชัย จินตะเวช กรรมการบริหารพรรค
  34. สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กรรมการบริหารพรรค
  35. สมพัฒน์ แก้วพิจิตร กรรมการบริหารพรรค
  36. สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กรรมการบริหารพรรค
  37. สมชาย ไทยทัน กรรมการบริหารพรรค
  38. สุภัตรา วิมลสมบัติ กรรมการบริหารพรรค
  39. เอกพจน์ ปานแย้ม กรรมการบริหารพรรค
  40. เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล กรรมการบริหารพรรค
  41. อมร อนันตชัย กรรมการบริหารพรรค
  42. กฤชชัย มรรคยาธร กรรมการบริหารพรรค
  43. เสมอกัน เที่ยงธรรม กรรมการบริหารพรรค

สรุปประวัติการทำงานในรัฐสภา[แก้]

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี เหตุการณ์สำคัญ
1. 26 ม.ค.2518 28 คน[8] ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช -
2. 4 เม.ย.2519 56 คน ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช -
3. 22 เม.ย.2522 42 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลงสมัครในนามกลุ่มชาติไทย
4. 18 เม.ย.2526 110 คน ฝ่ายค้าน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พรรคชาติไทยมีผู้นำฝ่ายค้านคนแรก
5. 27 ก.ค.2529 63 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ -
6. 24 ก.ค.2531 87 คน แกนนำรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
7. 22 มี.ค.2535 74 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร -
8. 13 ก.ย. 2535 77 คน ฝ่ายค้าน นายชวน หลีกภัย พรรคอภิปรายเรื่อง สปก.4-01 ทำให้รัฐบาลยุบสภา
9. 2 ก.ค.2538 92 คน แกนนำรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
10. 17 พ.ย.2539 39 คน ฝ่ายค้าน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ -
19 พ.ย.2540 39 คน ร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัย -
11. 6 ม.ค.2544 41 คน ร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
12. 6 ก.พ.2548 25 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
13. 2 เม.ย. 2549 25 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คว่ำบาตรการเลือกตั้งร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน
14. 23 ธ.ค.2550 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช -
- 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ -
- 15 คน ร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สนับสนุนอภิสิทธิ์ 14 เสียง
พลตำรวจเอกประชา 1 เสียง

อ้างอิง[แก้]

  1. Carpenter, C. (2007), "Thailand: Government", World and Its Peoples: Myanmar and Thailand, Marshall Cavendish, p. 667, ISBN 9780761476313, สืบค้นเมื่อ 26 January 2012
  2. 2.0 2.1 Maisrikrod, Surin (1992), Thailand's Two General Elections in 1992: Democracy Sustained, Institute of South East Asian Studies, p. 11, ISBN 9789813016521, สืบค้นเมื่อ 26 January 2012
  3. "พรรคชาติไทยพัฒนา | Thailand Democracy Watch - ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05.
  4. Ungpakorn, Giles Ji (2003), "From the city, via the jungle, to defeat: the 6th Oct 1976 bloodbath and the C.P.T." (PDF), Radicalising Thailand: New Political Perspectives, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, p. 7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2013, สืบค้นเมื่อ 26 January 2011
  5. Pasuk Phongpaichit; Chris Baker (1997), "Power in transition: Thailand in the 1990s", Political Change in Thailand: Democracy and Participation, Routledge, p. 30
  6. 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา (หน้า 261)
  7. ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]