เทวัญ ลิปตพัลลภ
เทวัญ ลิปตพัลลภ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 – 20 กรกฎาคม 2563[1] | |
ก่อนหน้า | กอบศักดิ์ ภูตระกูล |
ถัดไป | อนุชา นาคาศัย |
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน 2561 | |
ก่อนหน้า | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (61 ปี) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา |
เทวัญ ลิปตพัลลภ (เกิด 29 ธันวาคม 2502) เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และ เป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา[3]เป็นอดีตกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย
ประวัติ[แก้]
เทวัญ ลิปตพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2502 เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ และเป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]
งานการเมือง[แก้]
เทวัญ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 3 สมัย
ในปี 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ในปี 2561 นายเทวัญได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 4
ต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
เทวัญ ลิปตพัลลภ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ วางระบบไว้แล้ว! เทวัญ ลา ปธ.โคราช ลุยเลือกตั้ง
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2548. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2548
- ↑ ชาติพัฒนาเลือก 'เทวัญ ลิปตพัลลภ'หัวหน้าพรรค - ชูสโลแกน 'No problem' สู้ศึกเลือกตั้ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.