ดิเรก เจริญผล
หน้าตา
ดิเรก เจริญผล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 |
ศาสนา | พุทธ |
นายดิเรก เจริญผล เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ประวัติ
[แก้]ดิเรก เจริญผล เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จาก Clarkson College of Technology
การทำงาน
[แก้]ดิเรก เจริญผล เป็นผู้ที่มีบทบาทในวงการโทรคมนาคมของไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[1] ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้วุฒิสภาพิจารณา[2] แต่ไม่ได้รับคัดเลือก ต่อมาได้เข้ารับตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำ กทช.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "บัญชีรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาในองค์กรอิสระ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓๑, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔