พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)
นายแพทย์ พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | เฉลิม พรมมาส |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 จังหวัดจันทบุรี |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (88 ปี) |
นายแพทย์ พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527) แพทย์ชาวไทย อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระหว่าง พ.ศ. 2502 - 2512
นายแพทย์หลง เวชชาชีวะ เป็นชาวจังหวัดจันทบุรีอยู่บ้านแหลมแสม ตำบลโขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นบุตรคนโต ในจำนวน 3 คนของนาย ย็อก นางจีน ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีน จากซัวเถามาขึ้นเรือที่ อำเภอไชยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี) น้องชายคนที่ 2 ชื่อ นายแหยง คนที่ 3 ชื่อนายแหยม เพชรแก้ว และประกอบอาชีพค้าขาย [1] ศึกษาวิชาแพทย์ และเข้ารับราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นผู้รับพระราชทานนามสกุล "เวชชาชีวะ" จากรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2462
นายแพทย์หลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระบำราศนราดูร และดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 - 2512 [2][3]
ในปี พ.ศ. 2502 ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในกรุงเทพมหานคร พระบำราศนราดูรได้ก่อตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อควบคุมโรคติดต่อเป็นการพิเศษ โดยได้ย้ายโรงพยาบาลโรคติดต่อ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ถนนดินแดง ตำบลพญาไท ให้อยู่ห่างไกลออกไปจากชุมชน ไปอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตั้งชื่อว่า "โรงพยาบาลบำราศนราดูร" [4] (ปัจจุบันคือ สถาบันบำราศนราดูร สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
พระบำราศนราดูร สมรสกับคุณหญิงสุภาพ บำราศนราดูร (สุภาพ เวชชาชีวะ) มีบุตร 3 คน คือ นายอำนวย เวชชาชีวะ นายเสรี เวชชาชีวะ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ชั้น 1) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข[5]นายธีระ เวชชาชีวะ และเป็นพี่ชายของนายโฆษิต เวชชาชีวะ บิดาของนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายวิทยา เวชชาชีวะ อดีตเอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงต่างประเทศ [1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2509 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2503 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2502 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 สาแหรก... "เวชชาชีวะ" สำเนาจาก หนังสือพิมพ์มติชน, 16 ธันวาคม 2551, หน้า 11
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ ประวัติ สถาบันบำราศนราดูร
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/060/6.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 83 ตอนที่ 43 วันที่ 10 พฤษภาคม 2509
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรมมาส) | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 สมัยแรก 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 สมัยที่สอง) |
![]() |
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
- บุคคลจากอำเภอท่าใหม่
- สกุลเวชชาชีวะ
- แพทย์ชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์