สุชัย เจริญรัตนกุล
สุชัย เจริญรัตนกุล | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ถัดไป | พินิจ จารุสมบัติ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี |
ลายมือชื่อ | ไฟล์:Footnotes = |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชัย เจริญรัตนกุล (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) ศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
การศึกษา
[แก้]นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เมื่อ พ.ศ. 2514 จากนั้นใน พ.ศ. 2516 จึงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (พญาไท) นพ. สุชัย สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นในปี พ.ศ. 2523-2528 ได้ไปศึกษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ Newcastle University ประเทศอังกฤษ และ University of Edinburgh ประเทศสก๊อตแลนด์ รวมทั้งมีประสบการณ์เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงของสหราชอาณาจักรรวม 5 ปี ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ M.R.C.P(UK) จาก Royal College of Physicians of London,Edinburgh,Glasgow เมื่อ พ.ศ. 2527 ได้รับวุฒิบัตร F.R.C.P(Edin) จาก Royal College of Physicians of Edinburgh เมื่อ พ.ศ. 2537 และได้รับวุฒิบัตร F.R.C.P(Lond) จาก Royal College of Physicians of London เมื่อ พ.ศ. 2538 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ. รุ่นที่ 47) เมื่อ พ.ศ. 2547
การทำงานด้านวิชาการ
[แก้]นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สาขาวิชาโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นรองศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2533 และเมื่ออายุ 41 ปี จึงได้เป็นศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2539 ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดชั้นแนวหน้าของประเทศและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้รับเชิญเป็นประธานและผู้บรรยายการสัมมนาทางวิชาการโรคปอดนานาชาติในภาคพื้นยุโรปและสหรัฐอเมริกามาไม่ต่ากว่า 50 ครั้ง เขียนบทความวิชาการและงานวิจัยด้านโรคระบบการหายใจมากกว่า 100 เรื่อง[1][2]และมีหลายเรื่องนำไปตีพิมพ์ในวารสารสำคัญๆของต่างประเทศ อาทิ Thorax, European Journal of Respiratory Diseases และ CHEST เป็นบรรณาธิการและร่วมเขียนตำราภาษาไทยและภาษาอังกฤษประมาณ 10 เล่ม รวม 20 บท อาทิ Om P.Sharma,ed.,Textbook of Respiratory Diseases ( New York : Marcel Dekker,1991 ) [3], Peter O. Davies,ed.,Clinical Tuberculosis ( London : Chapman & Hall Medical,1998 ) [4], Peter O.Davies, ed., Case History in Chest Diseases ( London : Chapman & Hall Medical, 1999 ). เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เมื่อ พ.ศ. 2532-2535 เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลปอดกรุงเทพ เมื่อ พ.ศ. 2544-2547 เป็นนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2547–2549 และเป็นประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน
ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล เป็นผู้เจรจากับ American Thoracic Society ให้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมทางวิชาการโรคหืดโลกครั้งที่ 4 ( The 4th World Asthma Meeting ) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ เมื่อวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย ศ.นพ.สุชัย ทำหน้าที่เป็น Congress President มีสมาคมอุรเวชช์ยุโรป[5] สมาคมอุรเวชช์อเมริกัน[6] และวิทยาลัยแพทย์ทรวงอกอเมริกัน[7] ร่วมเป็น Co-Sponsor มีอาจารย์แพทย์โรคปอดที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาเป็นวิทยากรประมาณ 40 คน และมีแพทย์จากทั่วโลกมาร่วมประชุมมากกว่า 4,000 คน นับเป็นการประชุมวิชาการแพทย์นานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับโล่เกียรติยศบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกยอดเยี่ยมระดับชาติจากกระทรวงสาธารณสุข[8]
ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ บุคคลากรดีเด่นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 3 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2555
งานการเมือง
[แก้]ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[9] ในรัฐบาลยุคพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[10][11] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าไปแก้ไขภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเป็นผลสำเร็จ โดยกำหนดมาตรการป้องกันและรักษาเชิงรุก เร่งรัดพัฒนาห้อง lab ของโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพในการชันสูตรโรคด้วยความแม่นยำและรวดเร็ว รวมทั้งได้สั่งการและจัดสรรงบประมาณไปให้โรงพยาบาลทุกจังหวัดทั่วประเทศสร้างห้องแยกโรคแรงดันลบ (Negative Pressure Room) อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการรักษาและควบคุมโรคระบาดได้ผลสำเร็จจนถึงปัจจุบัน[12][13][14]
ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก สมัยที่ 58 (The 58th World Health Assembly, 2005) ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรี 194 ประเทศ ณ กรุงเจนีวา สหพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 16-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยมี H.E. Elena Salgodo รัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุขประเทศสเปน เป็นประธานสมัชชาอนามัยโลกในครั้งนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานฯ ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศนิวซีแลนด์ อุรุกวัย และอาหรับเอมิเรตส์ นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ ผลการประชุมในครั้งนั้นได้ข้อมติสำคัญหลายประการ อาทิ ข้อมติการใช้กฏสุขภาพระหว่างประเทศฉบับใหม่ ข้อมติการเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ และข้อมติการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์[15]
ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเสริมสร้างสุขภาพโลกครั้งที่ 6 (The 6th Conference on Health Promotion, 2005) ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7-11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิก 192 ประเทศ ผลการประชุมในครั้งนั้นได้มีการรับรอง "กฏบัตรกรุงเทพ 2005" (Bangkok Charter 2005) ว่าด้วยยุทธศาสตร์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยในศตวรรษที่ 21[16][17]
ในช่วงการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้จัดให้มีการประชุมนานาชาติป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก (International Partnership on Avian and Pandmic Influenza) ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยมี ศ.นพ.สุชัย เป็นประธานในที่ประชุม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค 12 ประเทศ รวมทั้ง Mr. Michael Levitt รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอเมริกา และ Dr.Lee Jong-Wook ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมในครั้งนั้นทำให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโลกกับประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคในการป้องกันแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกที่เป็นแนวปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน[18][19]
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วยเหตุผลส่วนตัว[20][21] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ต่อมาในวันเดียวกันนั้นเมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[22] กำกับดูแลกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และต่อมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[23][24][25] อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุม The United Nations General Assembly:Special Session on HIV/AIDS,2006 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม-2 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เป็นการประชุมระดับผู้นำของประเทศสมาชิก UN ประกอบด้วยประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้แทนของประเทศสมาชิก 127 ประเทศ โดย ศ.นพ.สุชัย ได้รับเกียรติให้เป็นองค์ปาฐกขึ้นกล่าวสุนทราพจน์ ณ หอประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก การประชุมในครั้งนั้นได้มติเป็นเอกฉันท์ให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศประกาศสงครามกับโรคเอดส์ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือลดจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนการตายให้เหลือเพียงร้อยละ 50 ของปัจจุบัน รวมทั้งเพิ่มมาตรการเยียวยาผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีอยู่ 15 ล้านคนให้ปลอดภัยและมีชีวิตเป็นปกติสุข[26]
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรักษาราชการรัฐมนตรีว่าการกรทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ได้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดนิทรรศการ Bangkok International ICT Expo 2006 ณ อาคารชาเลนเจอร์เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 2-6 สิงหาคม พ.ศ. 2549 มีกลุ่มผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมงานมากมาย อาทิ Microsoft,Samsung,Nokia,HP,Cannon,Acer เป็นต้น ทำให้มีเงินหมุนเวียนนับหมื่นล้านบาท รวมทั้งได้ส่งเสริมการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์ให้เข้าสู่ระบบสากล โดยการออกใบรับรองอีเล็คทรอนิคส์ซึ่งใช้เทคโนโลยี PKI เป็นกลไกกำกับความถูกต้องของ"ลายมือชื่อดิจิตอล"เพื่อยืนยันตัวบุคคล ซึ่งจะมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายมือชื่อที่ลงนามในเอกสารแผ่นกระดาษธุรกรรมโดยทั่วไป
ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรักษาราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อเนื่องมาและต้องพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อเกิด รัฐประหารยีดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมาจึงได้รับความเห็นชอบตามมติ ครม. ให้กลับเข้าไปเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[27]
งานในองค์การต่าง ๆ
[แก้]- ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (โรคปอด) พ.ศ. 2547 – 2549
- นายกสมาคมแพทย์ทรวงอกอเมริกันประจำประเทศไทย พ.ศ. 2543 – 2548
- คณะที่ปรึกษาสมาพันธ์โรคหืดขององค์การอนามัยโลก (GINA) พ.ศ. 2545 – 2548
- ประธานจัดงาน 4th World Asthma Meeting, Bangkok Thailand พ.ศ. 2547
- ประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ 2549-ปัจจุบัน
- คณะบรรณาธิการวารสาร Respirology : Official journal of the Asian Pacific Society of Respirology[28] (ค.ศ 1999-2004)
- คณะบรรณาธิการวารสาร Respiratory Medicine : Monthly peer-reviewed medical journal published by Elsevier[29] (ค.ศ 2000-2004)
- Editor-in-Chief: Thai Journal of Tuberculosis Chest Diseases and Critical Care (ค.ศ 1994-2007)
- Executive Committee Member : Asian Pacific Society of Respirology[30] (ค.ศ 1995-2004)
- International Advisory Committee Member : American Thoracic Society (ค.ศ 2003-2005)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[31]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[32]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "S Charoenratanakul's research works".
- ↑ "Suchai Charoenratanakul publications".
- ↑ "Lung Disease in the Tropics".
- ↑ "Clinical Tuberculosis".
- ↑ "European Respiratory Society".
- ↑ "American Thoracic Society".
- ↑ "American College of Chest Physicians".
- ↑ "สธ.ประชุมรับมือหวัดนกแม้ในไทยไม่พบกว่า 5 ปี".
- ↑ "รายนามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีต - ปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "Global Council Asia Society".
- ↑ "Asean needs to set up stockpile of bird-flu drugs".
- ↑ "Thai Health Ministry Ensure Drug Access".
- ↑ ""หมอสุชัย" ตั้งโมบายแล็บตรวจหวัด นก".
- ↑ "58th World Health Assembly".
- ↑ "6th WHO Global Conference Closing Address" (PDF).
- ↑ "The 6th WHO Global Conference on Health Promotion".
- ↑ "U.S. health chief Leavitt says human flu pandemic".
- ↑ "Leavitt warns of bird flu pandemic".
- ↑ "Public Heath Minister Resigns".
- ↑ "Newly-appointed Thai Cabinet Members Sworn In".
- ↑ "Deputy Prime Minister of Thailand 2005-2006".[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""หมอสุชัย"พร้อมสอบนอมินีทันที หลังพณ.ชี้ความผิดกุหลาบแก้ว".
- ↑ "คำรับรองปฏิบัติราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" (PDF).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "การเลื่อนขั้นเงินเดือนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" (PDF).
- ↑ "2006 UN High-Level Meeting on AIDS".
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ "Respirology".
- ↑ "Respiratory Medicine".
- ↑ "APSR Executive Committee".
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๑๗, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | สุชัย เจริญรัตนกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (11 มีนาคม - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548) |
พินิจ จารุสมบัติ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่าหลวง
- แพทย์ชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย