สมชาย เพศประเสริฐ
สมชาย เพศประเสริฐ | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2553 – เมษายน พ.ศ. 2554 | |
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 (71 ปี) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | มาตุภูมิ (พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2561) พลังประชารัฐ (พ.ศ. 2561) เพื่อชาติ (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2562) |
ศาสนา | พุทธ |
พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ อดีตตำรวจชาวไทยและอดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1][2][3] อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม อดีตโฆษกกระทรวงมหาดไทย และ อดีตสมาชิกพรรคมาตุภูมิ
ประวัติ[แก้]
พ.ต.ท.สมชาย เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 (71 ปี) ที่ จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกานปู้ร์ ประเทศอินเดีย
การทำงาน[แก้]
พ.ต.ท.สมชาย เคยรับราชการตำรวจ และได้ลาออกจากราชการในขณะที่มียศเป็นพันตำรวจโท จากนั้นจึงได้เข้าทำงานการเมือง ในปี พ.ศ. 2535 และดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานกรรมาธิการการทหาร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และโฆษกกระทรวงมหาดไทย
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคนำไทย ซึ่งนำโดย ดร.อำนวย วีรวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2538[5] และเขาเป็นสมาชิกกลุ่ม 16[6] ต่อมาจึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังได้เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับ นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[7] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และไปร่วมงานกับพรรคมาตุภูมิ ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน[8] พ.ศ. 2561 เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[9] และ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เขาได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ โดยระบุเหตุผลในหนังสือลาออกว่า เนื่องจากอุดมการณ์ แนวคิดและวิธีการบริหารพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน[10]
พ.ต.ท.สมชาย เคยเป็นสมาชิกกลุ่มพลังโคราช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://www.thaipost.net/main/detail/22569
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1428493
- ↑ https://www.naewna.com/politic/396812
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 138/2539 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’
- ↑ คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ "พล.อ.สนธิ" ยืนยัน "พ.ต.ท.สมชาย" ร่วมงานกับพรรคมาตุภูมิแล้ว
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/breaking-news/363349
- ↑ พลังโคราชในปีกสามมิตร กองหนุน บิ๊กตู่-พลังประชารัฐ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคนำไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคมาตุภูมิ
- พรรคเพื่อชาติ
- พรรคพลังประชารัฐ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์