พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง27 มกราคม พ.ศ. 2453 – พ.ศ. 2455
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ถัดไปเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์)[1]
ประสูติ2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์5 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (53 ปี)
กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
หม่อมหม่อมเชื่อม กฤดากร ณ อยุธยา
หม่อมปรุง กฤดากร ณ อยุธยา
บุตร
  • หม่อมราชวงศ์บุญระบือ กฤดากร
  • หม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
  • หม่อมราชวงศ์สมัคสมาน กฤดากร
  • หม่อมราชวงศ์เจริญศักดิ์ กฤดากร
  • หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร
ราชสกุลกฤดากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา
ภาพล้อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471) อดีตเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ

พระประวัติ[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร ทรงจบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาทรงเริ่มรับราชการในตำแหน่งเลขานุการพิเศษ กระทรวงต่างประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เมื่อ พ.ศ. 2455[4] พระองค์มีหม่อม 2 คนคือหม่อมเชื่อมและหม่อมปรุง ทรงมีโอรสและธิดา คือ

  1. หม่อมราชวงศ์บุญระบือ กฤดากร
  2. หม่อมราชวงศ์บรรลือศักดิ์ กฤดากร
  3. หม่อมราชวงศ์สมัคสมาน กฤดากร (พ.ศ. 2448 — พ.ศ. 2509)
  4. หม่อมราชวงศ์เจริญศักดิ์ กฤดากร
  5. หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร

การรับราชการ[แก้]

  • เลขานุการพิเศษ กระทรวงต่างประเทศ
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 เลขานุการ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[5]
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 เลขานุการ กระทรวงมหาดไทย[6]
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ปลัดเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช[7][8][9]
  • ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2449 อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส โรม มาดริด ลิสบอน[10]
  • 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 เสด็จกลับมารับราชการที่กรุงเทพ[11]
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 รองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[12]
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2453 รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[13]
  • 27 มกราคม พ.ศ. 2454(นับแบบปัจจุบัน) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม[14]
  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2455 อัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส[15]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระองค์ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการ และสิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัย (หัวใจ) พิการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2471กรุงเจนีวา รวมพระชันษาได้ 53 ปี 95 วัน[16]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระยศ[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
รับใช้กระทรวงยุติธรรม
กองเสือป่า
ชั้นยศมหาอำมาตย์เอก
นายหมวดเอก

พระยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์เอก[17]
  • มหาอำมาตย์ตรี[18]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • 14 กรกฎาคม 2454 – นายหมู่ใหญ่[19]
  • นายหมวดเอก[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตำแหน่งถัดไป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  2. เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
  3. ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม ๒๙, ตอน ง, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๑๒๕๐
  5. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  6. พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ
  7. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  8. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งน่าที่ราชการ
  9. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  10. การตั้งหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์
  11. หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤษฎากรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  12. รองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
  13. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
  14. เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
  15. "อัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๔๕, ตอน ง, ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า ๒๖๓๙
  17. "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ ข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 920. 13 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. แจ้งความกระทรวงวัง
  19. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  20. พระราชทานยศเสือป่า
  21. เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)‎
  22. การสถาปนาพระอิศริยยศ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29 หน้า 1246 วันที่ 8 กันยายน 2455
  23. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1
  24. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1
  25. รายพระนามเสนาบดีผู้ได้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา เล่ม 36 หน้า 3007 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 มกราคม 2462
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๔๙