ประชา พรหมนอก
ประชา พรหมนอก | |
---|---|
ประชา ภาพในปี พ.ศ. 2541 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 311 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | เฉลิม อยู่บำรุง |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (1 ปี 326 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
ถัดไป | ชัยเกษม นิติสิริ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (0 ปี 240 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | วุฒิ สุโกศล |
ถัดไป | เดช บุญ-หลง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 69 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ |
ถัดไป | ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (1 ปี 36 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
ถัดไป | จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2540[1] – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (1 ปี 281 วัน) | |
ก่อนหน้า | พจน์ บุณยะจินดา |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2543[2] (1 ปี 239 วัน) | |
ถัดไป | พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ |
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 (0 ปี 109 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ถัดไป | ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง |
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มกราคม พ.ศ. 2548 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (3 ปี 213 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก |
ถัดไป | ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย |
นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กันยายน พ.ศ. 2546 – 16 มกราคม พ.ศ. 2548 (1 ปี 128 วัน) | |
ก่อนหน้า | นายสงบ ลักษณะ |
ถัดไป | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2543–2547) ไทยรักไทย (2547–2548) มหาชน (2548–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550–2554) เพื่อไทย (2554–2561) |
คู่สมรส | คุณหญิงวารุณี พรหมนอก (หย่า) |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[3]และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายตำรวจมือปราบมีฉายาว่า "อินทรีอีสาน" เนื่องจากเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา เป็นทั้งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้ายและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก เนื่องจากมีตำแหน่งสูงสุดในช่วงที่ปรับเปลี่ยนสถานะของกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[4]และอดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานีและนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ประวัติ
[แก้]พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีชื่อเดิมว่า "ผิวทอง" เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาเป็นบุตรของนายผ่าน กับนางบาง พรหมนอก สมรสกับคุณหญิงวารุณี บำรุงสวัสดิ์ (หย่า) มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ พ.ต.อ.ชัชธรรม พรหมนอก (เสียชีวิต), นางธารศรี ศรีวรขาน (สมรสกับ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร.), นางนุดี เพชรพนมพร (สมรสกับนายศราวุธ เพชรพนมพร) และ พ.ต.ท.จิรพัฒน์ พรหมนอก[5]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- ชั้นประถม โรงเรียนเทศบาลพลประชานุกุล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
- โรงเรียนศิริศาสตร์
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสระเกศ
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 2
- รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (ตำรวจ) จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 18
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2540
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 31
ประสบการณ์
[แก้]- พ.ศ. 2508 รองสารวัตร แผนก 3 กองกำกับการ 7 กองตำรวจสันติบาล
- พ.ศ. 2515 นายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 4
- พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น
- พ.ศ. 2518 สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี
- พ.ศ. 2519 รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2522 ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี
- พ.ศ. 2524 รองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล
- พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการตำรวจภูธร 6
- พ.ศ. 2528 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ภาคอีสาน)
- พ.ศ. 2531 รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ภาคอีสาน)
- พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์)
- พ.ศ. 2534 ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2537 รองอธิบดีกรมตำรวจ
- พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมตำรวจ[6]
- พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2546 นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี
- พ.ศ. 2547 นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวอุตสาหกรรม
- รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย[7]
- ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
- พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
- เป็นกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- เป็นกรรมการธนาคารกรุงไทย
- เป็นกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
- เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
- เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (9 สิงหาคม 2554 - 30 มิถุนายน 2556)
- พ.ศ. 2556 รองนายกรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2556 - 7 พฤษภาคม 2557)
การเมือง
[แก้]พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2540 ภายหลังเกษียณราชการแล้ว ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา[8] และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่ประกาศลาออกไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[9]
ภายหลังรัฐบาลนายสมชายต้องพ้นวาระไปจากคดียุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องว่างลง พล.ต.อ.ประชาได้รับการสนับสนุนจากนายเสนาะ เทียนทอง และพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนต่อไป ในวันที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา เสียงที่เลือก พล.ต.อ.ประชา แพ้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 235 เสียง ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้โหวตให้แก่ตัวเองด้วย
ต่อมา พล.ต.อ.ประชา ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[10] และเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[11] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554[12] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 5[13] จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[14]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พล.ต.อ.ประชา ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ต่อมาได้มีการแต่งตั้ง ดร.สุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เข้ามาทำหน้าที่แทน[15]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 8[16] ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั้งราชอาณาจักรในวันเดียวกันได้ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ[17]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ.ประชา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[22]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[23]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แต่งตั้ง รองอธิบดี เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก[ลิงก์เสีย]
- ↑ แต่งตั้ง รองอธิบดี เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
- ↑ m.mgronline.com https://m.mgronline.com/uptodate/detail/9510000142895.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ “ประชา”ลาเพื่อแผ่นดิน คาดร่วมงาน พท.
- ↑ [ลิงก์เสีย] พล.ต.อ.ประชาสมัครเป็นสมาชิกเพื่อไทยแล้ว จากประชาทรรศน์
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ แฉปลด"ประชา"พ้นผอ.ศอ.รส.ฉุนใจไม่สู้.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1eOeLg9[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ "มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ". Manager. 2014-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
- ↑ เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๗, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า | ประชา พรหมนอก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (ครม. 60) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ||
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556) |
ชัยเกษม นิติสิริ | ||
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 58) (24 กันยายนพ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง | ||
พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 53) (14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) |
เดช บุญ-หลง | ||
พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ. 2539 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2543) |
พลตำรวจเอกพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- บุคคลจากอำเภอบัวใหญ่
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสระเกศ
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย