อรรถชัย อนันตเมฆ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อรรถชัย อนันตเมฆ | |
---|---|
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2508 (55 ปี) |
อาชีพ | นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ นักการเมือง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2530 - 2555 |
อรรถชัย อนันตเมฆ ชื่อเล่น โด่ง เกิดเมื่อวันที่ (22 เมษายน พ.ศ. 2508 - ) ที่จังหวัดนราธิวาส[1] เป็นนักแสดง พิธีกร นักการเมือง และ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย อดีตข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[2] อรรถชัยจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 15 และภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2531 เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนายแบบโดม่อนแมนมาก่อน จากนั้นจึงมีผลงานการแสดงครั้งแรกจากภาพยนตร์เรื่อง เธอร้องไห้เมื่อคืนนี้ ในปี พ.ศ. 2530 จากการกำกับของ เพิ่มพล เชยอรุณ ต่อด้วยผลงานทางภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ซึ่งบทบาทช่วงแรกมักได้รับเป็นพระเอกกับพระรอง ต่อมาจึงพลิกบทบาทส่วนใหญ่เป็นตัวร้าย
ในระหว่างที่มีชื่อเสียงช่วงแรก เคยมีข่าวคราวว่าคบหาอยู่กับ ริสา หงษ์หิรัญ ดารานักแสดง นางแบบสาว และรองมิสไทยแลนด์เวิลด์ อันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2531[3] ทั้งยังเคยเป็นข่าวโด่งดังเนื่องจาก ถูกจับกุมในคดีเมาแล้วขับ [4] และหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่พนักงาน [5]
ผลงานในระยะหลัง เป็นครูสอนการแสดงที่สถาบันการแสดงของกันตนา รวมทั้งเป็นพิธีกรในรายการเรียลลิตี้โชว์ ทางช่อง 7 ชุด เกมชีวิต ในปี พ.ศ. 2543 และรับบทเป็นอาจารย์ในละครชุด น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ ทางช่อง 3 และบท พระมหินทราธิราช ในละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา ทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2545
ในปี พ.ศ. 2552 ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. อรรถชัยได้ขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยได้กล่าวพาดพิงไปถึง ศรัณยู วงศ์กระจ่าง ซึ่งเป็นนักแสดงรุ่นพี่ซึ่งเป็นแนวร่วมคนสำคัญของทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกันด้วย[6] และในการชุมนุมปี พ.ศ. 2553 ก็ได้ถูกหมายเรียกในข้อหากระทำผิดพระราชบัญญัติความมั่นคงโดยฝ่าฝืนประกาศของ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แต่ต่อมาในรัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในกลางปี พ.ศ. 2554 อรรถชัยได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยแกนนำกลุ่ม นปช.อีกหลายคน อาทิ ไพจิตร อักษรณรงค์ หรือรังษี เสรีชัย[7]ศาลทหารออกหมายจับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2557[8]
ผลงานละครโทรทัศน์[แก้]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]
- พ.ศ. 2530 เธอร้องไห้เมื่อคืนนี้
- พ.ศ. 2530 ลุ้นอลเวง
- พ.ศ. 2533 รักเพี้ยน เพี้ยน
- พ.ศ. 2534 เปลวไฟในตะวัน
- พ.ศ. 2534 ผ่าปืน 91
- พ.ศ. 2535 ไอ้เข้
- พ.ศ. 2548 ซุ้มมือปืน
- พ.ศ. 2553 คนไทยทิ้งแผ่นดิน
ผลงานซิตคอม[แก้]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535: 25 ขวาสุด ช่อง 7 (นักแสดงประจำ)
- พ.ศ. 2545: ระเบิดเถิดเทิง ช่อง 5 (นักแสดงรับเชิญ)
- พ.ศ. 2557: ประชาธิปไตยที่รัก ช่องเอเชียอัปเดต ออกอากาศได้2ตอน (นักแสดงประจำ)[9][10]
งานบทประพันธ์ละคร[แก้]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- พ.ศ. 2546: พ่อดอกรักเร่ ไอทีวี
- พ.ศ. 2549: นรกตัวสุดท้าย ช่อง 3
- พ.ศ. 2550: เขาหาว่าหนูเป็นเจ้าหญิง ช่อง 7
ผลงานในฐานะพิธีกร[แก้]
- พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557: รายการสามแยก ปากแมว ช่องเอ็มวีทีวี[11]
- พ.ศ. 2557: รายการสุขเสรีไทย ตอนที่ 2 ออกอากาศออนไลน์บนยูทูบ[12]
- พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน: รายการรู้ทัน ออกอากาศออนไลน์บนยูทูบ[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)[14]
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- อรรถชัย อนันตเมฆ ที่เฟซบุ๊ก
- ช่อง รู้ทัน แชนแนล บนยูทูบ
- ช่อง วีรชาติ อนันตเมฆ บนยูทูบ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติ อรรถชัย อนันตเมฆ (โด่ง)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/102/44.PDF
- ↑ ผสมโรงจากไทยโพสต์
- ↑ http://news.hunsa.com/3524-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html
- ↑ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9500000026388
- ↑ ดาราแดงประจำเดือน "โด่ง" แขวะ "ตั้ว" หยันเสื้อเหลืองใบ้กิน "แม้ว" เลว?
- ↑ มติครม.ยิ่งลักษณ์ 25 สิงหาคม 2554 แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/090/1.PDF
- ↑ ประชาธิปไตยที่รักบนยูทูบ ตอนที่1
- ↑ ประชาธิปไตยที่รักบนยูทูบ ตอนที่2
- ↑ รายการสามแยก ปากแมว ช่องเอ็มวีทีวี บนยูทูบ
- ↑ รายการสุขเสรีไทยบนยูทูบ
- ↑ รายการรู้ทันบนยูทูบ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖