ชลน่าน ศรีแก้ว
นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ชลน่าน ในปี พ.ศ. 2565 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ |
ถัดไป | สรวงศ์ เทียนทอง |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 | |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอบ้านหลวง, อำเภอเวียงสา, อำเภอนาน้อย, อำเภอนาหมื่น, อำเภอแม่จริม และอำเภอสันติสุข |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 (61 ปี) อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประเทศไทย |
พรรค | ประชาธิปัตย์ (2526–2543)[1] ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551– ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พญ.นวลสกุล บำรุงพงษ์ |
นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504) เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าพรรคเพื่อไทย[2] ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน เขต 2 ในอดีตเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย เคยได้รับการยกย่องเป็น "ดาวเด่นสภาฯ" จากการตั้งฉายานักการเมือง ของสื่อมวลชนประจำปี พ.ศ. 2552
ประวัติ[แก้]
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ที่ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นบุตรของนายใจ และนางหมาย ศรีแก้ว สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2529 (ร่วมรุ่นกับ นายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ และ นายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์) และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542
การทำงาน[แก้]
ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ระว่างปี พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2543 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปี พ.ศ. 2548 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) นอกจากนั้นแล้ว เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในระยะหนึ่งอีกด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ได้ตั้งฉายานักการเมือง โดยให้ฉายานายแพทย์ชลน่านเป็น "ดาวสภาฯ" ด้วยบทบาทการอภิปรายโดยมุ่งเน้นข้อมูลมากกว่าการใช้วาทะศิลป์[3]
ชลน่าน ศรีแก้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[5]
ในปี พ.ศ. 2564 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งมาอีก 4 สมัยต่อกันเป็นลำดับ คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2545 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เปิดประวัติ หมอชลน่าน จากประชาธิปัตย์ สู่ ส.ส.เพื่อไทย 5 สมัย ผู้ไม่เคยแพ้ในสนามการเมือง". ข่าวสด. 2019-05-29.
- ↑ "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย คนใหม่ ประวัติ "นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว" ดาวสภาปี 2552". bangkokbiznews. 2021-10-28.
- ↑ "สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานักการเมืองประจำปี". prachatai.com. 2009-12-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว), ราชกิจจานุเบกษา, 29 ธันวาคม 2564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๐๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเวียงสา
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์