วอยซ์ทีวี
![]() | |
ประเทศ | ![]() |
---|---|
เครือข่าย |
|
คำขวัญ |
|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 197 อาคารบีบีดี ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576ไอ (16:9 คมชัดปกติ) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด |
บุคลากรหลัก |
|
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (11 ปี) |
ยุติออกอากาศ | วอยซ์ทีวี 21: 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 152 วัน) เฉพาะคู่ขนานทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล: 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (3 ปี 272 วัน) [1] |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www.voicetv.co.th |
ออกอากาศ | |
เคเบิลทีวี | |
![]() | เคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ |
ทีวีดาวเทียม | |
ไทยคม 6 C-Band | 3840 H 30000 3/4 |
ไทยคม 6 KU-Band | 12344 V 45000 3/4 |
พีเอสไอ ดีทีวี [2] ไอเดียแซท อินโฟแซท ลีโอเทค [3]จีเอ็มเอ็มแซต [4]ไอพีเอ็ม | ช่อง 75 (ผ่านทางช่อง V2H9 (Video to Home 9)) |
ไทยแซท | ช่อง 140 |
สื่อสตรีมมิง | |
VoiceTV | ชมรายการสด |
twitch.tv | ชมรายการสด |
วอยซ์ ทีวี (อังกฤษ: Voice TV) เป็นช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมและเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ก่อนหน้านี้เป็นผู้รับสิทธิการออกอากาศ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ออกอากาศทางช่องหมายเลข 21, อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ www.voicetv.co.thและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (smartphone)[5] เริ่มทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในระบบซีแบนด์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552[6], เปิดตัวเว็บไซต์วอยซ์ทีวี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[7], เริ่มแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[8], เริ่มออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมเคยูแบนด์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[9] และเริ่มออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557[10] โดยประมูลด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.031 ในปี พ.ศ. 2561 และต่ำสุด 0.004 ในปี พ.ศ. 2557[11]
วอยซ์ทีวีนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก รายงานเจาะลึกประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ด้วยมุมมองที่แตกต่างจากสื่อมวลชนกระแสหลัก รวมทั้งสาระบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตคุณภาพสูง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ หลากหลาย แต่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ของคนทำงานในเมือง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังนำเสนอผ่านสื่อเครือข่ายสังคมทุกรูปแบบคือ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และยูทูบ[5]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย, ทรงศักดิ์ เปรมสุข อดีตผู้บริหารไอทีวี เป็นกรรมการที่ปรึกษา[12] เป็นกรรมการผู้อำนวยการ, พานทองแท้ ชินวัตร เป็นกรรมการรองผู้อำนวยการ และพินทองทา คุณากรวงศ์ เป็นกรรมการบริษัท[7]
ประวัติ[แก้]
บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ในนามบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ด้วยทุนจำนวน 300 ล้านบาท ประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ เพื่อนำออกอากาศเป็นการทั่วไป เดิมตั้งอยู่เลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารอินทัช) ประกอบด้วยกรรมการบริษัท 4 คนคือ พานทองแท้ ชินวัตร, พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์, ทรงศักดิ์ เปรมสุข, เฉลิม แผลงศร และมีผู้ถือหุ้นจำนวน 8 รายคือ บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชัน จำกัด (ร้อยละ 56.00), พานทองแท้ ชินวัตร (ร้อยละ 36.96), พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (ร้อยละ 7.04) และบุคคลอื่นๆ รวมอีก 5 หุ้น มีผลงานผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เช่น I Style, ใครรักใครหัวใจตรงกัน,ปลาเก๋าราดพริก,บางกอกรามา ฯลฯ รวมถึงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกด้วย[13] เปลี่ยนชื่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นบริษัท วอยซ์สเตชัน จำกัด, เปลี่ยนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นชื่อปัจจุบัน[7]
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
ฝ่ายความมั่นคงสั่งยุติการออกอากาศ[แก้]
พ.ศ. 2557[แก้]
หลังการประกาศใช้กฎอัยการศึก ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีการออกคำสั่งให้ช่องโทรทัศน์ดาวเทียมหลายแห่งยุติการออกอากาศ และหนึ่งวันให้หลัง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศวอยซ์ทีวี อันเนื่องมาจากเนื้อหาพาดพิงการเมืองที่มีนัยสำคัญ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศโทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีรัฐประหาร ต่อมาภายหลัง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 65/2557 อนุญาตให้วอยซ์ทีวีสามารถกลับมาออกอากาศรายการประจำได้ตามปกติ ทว่าต้องถือปฏิบัติ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 14/2557, ฉบับที่ 18/2557, ฉบับที่ 23/2557 และฉบับที่ 27/2557 รวมถึงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการออกอากาศ[14] โดยทางวอยซ์ทีวีเตรียมความพร้อมไว้แล้วก่อนหน้านี้ และสามารถกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง เมื่อเวลา 12:00 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป โดยเริ่มด้วยภาคข่าวเที่ยง "วอยซ์นิวส์"
พ.ศ. 2563[แก้]
หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เพื่อควบคุมการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งมีมาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ปีเดียวกัน มีหน่วยงานหนึ่งซึ่งไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานใด เข้าไปกดดันให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมวีทูเอชช่อง 2 ซึ่งวอยซ์ทีวีเช่าเวลาออกอากาศ งดการออกอากาศรายการของวอยซ์ทีวี[15] ส่งผลให้ช่วงเวลารายการต่างๆ ของวอยซ์ทีวีที่ออกอากาศมาแต่เดิม แทนที่ด้วยรายการแนะนำสินค้า แต่สำหรับการออกอากาศผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะยูทูบ เฟซบุ๊กไลฟ์ และ twitch.tv ยังคงออกอากาศตามปกติ และในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 วอยซ์ทีวีกลับมาออกอากาศผ่านดาวเทียมอีกครั้ง ในชื่อ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมวีทูเอชช่อง 9 ที่ความถี่ใหม่ 3840 H 30000 (3/4)
กสทช. พักใช้ใบอนุญาต 7 วัน[แก้]

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 วอยซ์ทีวี ถูกระงับการออกอากาศ 7 วัน (จากเดิมที่ให้ระงับ 3 วัน) จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมือวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 เนื่องจากมีรายการบางรายการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นลักษณะยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง โดยได้แสดงข้อความเป็นตัวอักษรสีขาว อยู่บริเวณกลางหน้าจอความว่า "ระงับการออกอากาศชั่วคราว ตามคำสั่งทางปกครองของสำนักงาน กสทช." ทั้งนี้ การออกอากาศออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วอยซ์ทีวียังคงออกอากาศอย่างต่อเนื่องตามปกติ
จนกระทั่งในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 ก่อนเข้าสู่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 หลังจบรายการสารคดีชุด Discoveries America ต่อด้วยช่วง World Events และต่อด้วย Ident ของสถานีฯ ในรูปแบบวน จำนวน 9 ครั้ง เพื่อเตรียมการเปิดสัญญาณออกอากาศผ่านโทรทัศน์ระบบดิจิทัลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Must-Carry จนกระทั่ง Ident ของสถานีรอบที่ 9 สิ้นสุดลง ก็ได้ตัดเข้าสู่เทปบันทึกภาพการประกาศการกลับมาออกอากาศของวอยซ์ทีวี โดยมีคณะผู้ดำเนินรายการ นำโดย ธีรัตถ์ รัตนเสวี ผู้อำนวยการฝ่ายรายการและสื่อดิจิตอล พร้อมด้วย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข, พัชยา มหัทธโนธรรม, พรรณิการ์ วานิช และ วิโรจน์ อาลี ซึ่งบันทึกเทปจากห้องส่งของรายการทูไนท์ไทยแลนด์ ก่อนกลับเข้าสู่การออกอากาศรายการตามปกติ
กสทช. พักใช้ใบอนุญาต 15 วัน[แก้]
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติให้พักใบอนุญาตวอยซ์ทีวี (Voice TV) เป็นเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กสทช. ด้วยเหตุผลว่า มีการนำเสนอรายการข่าวหลายรายการมีลักษณะส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร จึงห้ามมิให้ออกอากาศในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 97/2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ คสช. ฉบับที่ 130/2557 เรื่องการให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคสช.และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ
จากนั้น เวลา 15.00 น. นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) วอยซ์ทีวี กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้พักใบอนุญาตวอยซ์ ทีวี เป็นเวลา 15 วันว่า รอบนี้ถึงเวลาต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครอง พร้อมเรียกค่าเสียหาย ซึ่งคำนวณย้อนหลังแล้วมากกว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ หลังคำสั่ง กสท. มีผลบังคับใช้ วอยซ์ทีวีได้นำรายการบางส่วนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Five Channel ของบริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่นส์ ไทยแลนด์ จำกัด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ชมที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือยังต้องชมรายการผ่านโทรทัศน์ปกติได้รับชมรายการในห้วงเวลาพักใช้ใบอนุญาต ขณะเดียวกัน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 วอยซ์ทีวีได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทุเลาคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต จนกระทั่งเวลา 21:00 น. ของวันเดียวกัน ศาลปกครองมีคำสั่งให้ทุเลาคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตของ กสทช. ลงชั่วคราว ทำให้วอยซ์ทีวีสามารถออกอากาศได้ตามปกติทุกช่องทาง โดยการออกอากาศเริ่มในเวลาประมาณ 00:40 น. ของวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 งดออกอากาศรวมระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาต 3 วัน 39 นาที
ยุติการออกอากาศจากทีวีดิจิทัลกลับไปสู่ทีวีดาวเทียมอีกครั้งหนึ่ง[แก้]
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติให้ขอคืนใบอนุญาตวอยซ์ทีวี ในนาม บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด [16]บอร์ด กสทช. มีมติให้ยุติการออกอากาศ เฉพาะทีวีดิจิทัลช่อง 21 ในทุกแพลทฟอร์ม ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 นับตั้งแต่เวลา 00:03 น. เข้าสู่ทีวีดาวเทียม แพร่ภาพออกอากาศบนดาวเทียม ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป หลาย ๆ ช่องทางสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง หลังสิ้นสุดการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเภท Must-Carry[17] [18] [19] [20] [21]
รายการ[แก้]
รายการบางส่วนออกอากาศเป็นประจำ และอีกส่วนออกอากาศเป็นพิเศษ ทว่าบางรายการก็ระงับการออกอากาศไปชั่วคราว ซึ่งจะกลับมาออกอากาศตามปกติ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตามสถานการณ์บ้านเมือง เนื่องจากมีเนื้อหา เน้นที่ข่าวสารและสาระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นหลัก[22]
นอกจากนี้ วอยซ์ทีวียังมีรายการสั้น ออกอากาศในช่วงระหว่างรายการต่างๆ อีกด้วย
ข่าวและการเมือง[แก้]
ข่าว[แก้]
- เวคอัปไทยแลนด์ (Wake Up Thailand, เดิมคือ Wake Up News)
- เดอะท็อปปิก (The Toppick, เดิมคือ World Trend)
- วอยซ์โก (Voice GO)
- ทอล์กกิงไทยแลนด์ (Talking Thailand, เดิมคือ Tonight Thailand)
สนทนา,วิเคราะห์[แก้]
- โอเวอร์วิว (Overview)
- โอเวอร์วิวเอ็กซ์ตร้า (Overview Extra)
- The Daily Dose โลกการเมือง
- The Daily Dose ยามเช้า
- ใบตองแห้ง On Air
- สุมหัวคิด
- มองโลกมองไทย
รายการสั้น[แก้]
- เบสท์จ็อบอีเวอร์ (Best Job Ever)
- คลิปวีดีโอข่าวสั้นอัตราส่วน 1:1 โดยทีมงานวอยซ์ออนไลน์
- สาระความรู้สั้น
รายการออนไลน์[แก้]
- อินเฮอร์อาย (In Her Eye)
- แซ่มลื้ม
- What To Know (รายการภาษาอังกฤษ)
- The Daily Dose Live ยามเช้า
รายการข่าวภาคบังคับ[แก้]
- ข่าวในพระราชสำนัก - (ดึงสัญญาณภาพจากช่อง 9 MCOT HD ในนาม สำนักข่าวไทย อสมท) (ออกอากาศประมาณ 20.30 - 20.40 น.)
- เดินหน้าประเทศไทย (2557-2562)
- ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (2559-2562)
ระยะเวลาออกอากาศ[แก้]
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553 เปิดสถานีเวลา 20:00 น. ปิดสถานีเวลา 21:00 น. (จันทร์-พฤหัสบดี) 22:00 น. (ศุกร์-อาทิตย์)
- พ.ศ. 2553 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ออกอากาศ 24 ชั่วโมง
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - มกราคม พ.ศ. 2561 เปิดสถานีเวลา 06:00 น. ปิดสถานีเวลา 00:00 น.
- มกราคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ออกอากาศ 24 ชั่วโมง (หลังเวลา 00.00 น. นำรายการแนะนำสินค้ามาออกอากาศ จนถึง 6.30 น.)
ผู้ประกาศข่าว ผู้รายงานข่าว และผู้ดำเนินรายการ[แก้]
ปัจจุบัน[แก้]
- วีรนันต์ กัณหา
- พัชยา มหัทธโนธรรม
- หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล
- ชลวิศว์ วงศ์ศรีวอ
- ธีรัตถ์ รัตนเสวี
- เอกวรัญญู อัมระปาล
- ประสิทธิ์ชัย คำบาง
วิทยากรและนักวิเคราะห์[แก้]
- ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
- ลักขณา ปันวิชัย
- อธึกกิต แสวงสุข
- ดร.วิโรจน์ อาลี
- ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
- ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
- นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
- ขัตติยา สวัสดิผล
ผู้ประกาศข่าว ผู้รายงานข่าว ผู้ดำเนินรายการ วิทยากรและนักวิเคราะห์ในอดีต[แก้]
- ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล (ปัจจุบันเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า")
- รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ)
- จอม เพชรประดับ (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ)
- ตวงพร อัศววิไล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- วรวัฒน์ ฉิมคล้าย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- สุชาณี รุ่งเหมือนพร (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ชยากรณ์ กำโชค (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- สุทธิพร บุญช่วย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ธนาพล เรามานะชัย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- โกสินทร์ อัตตโนรักษ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- พรทิพย์ โม่งใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์)
- จิตต์สุภา ฉิน (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16 และยูทูบเบอร์ช่อง Spin9)
- วิลาสินี แวน ฮาแรน (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ร่มเกล้า อมาตยกุล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- พรรณิการ์ วานิช (ปัจจุบันเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า")
- พัสวี ฐิติพรวัฒนกุล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16)
- ณัฏฐา มหัทธนา (ปัจจุบันทำรายการออนไลน์ในเพจ)
- รศ.(พิเศษ)ดร.อดิศร เพียงเกษ (ปัจจุบันอยู่เพจตรงไปตรงมาทีวี)
- ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (ปัจจุบันทำรายการออนไลน์ในเพจ)
- ศศิพงศ์ ชาติพจน์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ผศ.ดร.อรุณี กาสยานนท์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคเพื่อไทย)
- ชาญชัย ประทีปวัฒนะวงศ์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จากใจ ของ 'คนวอยซ์ทีวี' จะยุติการออกอากาศทีวีดิจิทัล ไปสู่ผ่านทีวีดาวเทียม
- ↑ ผังช่องรายการ DTV THAI
- ↑ Voice TV - รู้ยังงง 1 ก.ย. นี้
- ↑ ผังช่องรายการ GMM Z
- ↑ 5.0 5.1 About Voice TV, www.voicetv.co.th
- ↑ แถลงการณ์วอยซ์ทีวี ยันเสนอข่าวเที่ยงตรง, มติชนออนไลน์, 25 กุมภาพันธ์ 2557.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 จาก "ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" สู่ "วอยซ์ ทีวี" มหากิจศิริ มิตรแท้.. หรือจะเป็น Voice of Thaksin ?, ประชาชาติธุรกิจ, 24 พฤศจิกายน 2552.
- ↑ วอยซ์ทีวี (30 มิถุนายน 2557). "วอยซ์ ทีวี ก้าวสู่ปีที่ 6". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ วอยซ์ทีวี (6 มกราคม 2554). "VOICE TV ออกอากาศ 24 ชม.ทั้งดาวเทียม C-BAND และ KU-BAND". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ 1 เมษายน ช่อง 21 VoiceTv เปิดทีวีดิจิตอล, วอยซ์ทีวี, 28 มกราคม 2557.
- ↑ "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ เปิดตัว 'เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย' คุม 'วอยซ์ทีวี', วอยซ์ทีวี, 8 ธันวาคม 2557.
- ↑ เปิดแผน "ฮาวคัม" เทียบชินคอร์ป ปั้นลูกโอ๊ค ตามรอยแม้ว,
- ↑ คสช. อนุญาตให้ 'วอยซ์ทีวี-ทีนิวส์' ออกอากาศแล้ว, วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
- ↑ รายการทอล์กกิงไทยแลนด์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ช่วงแรก),
- ↑ Voice TV รับเงินเยียวยาคืนช่องจาก กสทช. 372.64 ลบ.
- ↑ Wake Up News วอยซ์ทีวีคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
- ↑ ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ยื่นคืนใบอนุญาต คาดเดือนสิงหาคม 62 ยุติการออกอากาศ
- ↑ วอยซ์ทีวีประกาศคืนใบอนุญาตฯ รูดม่านทีวีดิจิทัล 5 ปี เบนเข็มไปดาวเทียม-ออนไลน์
- ↑ "วอยซ์ทีวี" ได้ทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ ช่อง 51" ออนแอร์ทดแทน
- ↑ VOICE TV ช่องทาง ทีวีดาวเทียมกับผังใหม่ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
- ↑ Schedule, www.voicetv.co.th
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีออนไลน์)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีทอล์กกิ้ง ไทยแลนด์)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีโอเวอร์วิว)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีเวคอัปไทยแลนด์)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีใบตองแห้ง)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีมองโลกมองไทย)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีสุมหัวคิด)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีคำผกา)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีเดลี่โดส)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีเวิร์ล)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์สเปซ)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์เจอนั่นเจอนี่)
- วอยซ์ทีวี ที่เฟซบุ๊ก (เพจวอยซ์ทีวีเดอะท็อปปิก)
- วอยซ์ทีวี ที่ทวิตเตอร์
- วอยซ์ทีวี ที่ยูทูบ
- วอยซ์ออนไลน์ ที่ยูทูบ
- Twitch.tv