อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์
อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2535–2548) ไทยรักไทย (2548–2550) เพื่อไทย (2555–2561, 2566–ปัจจุบัน) เพื่อคนไทย (2561–2566) |
คู่สมรส | แนบเนียน ทรัพยสิทธิ์ |
อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 6 สมัย
ประวัติ
[แก้]อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492[1] ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม และนิติศาสตรบัณฑิต และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายหลังยังได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหวิทยาลัยรามคำแหงเช่นเดียวกัน ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางแนบเนียน ทรัพยสิทธิ์ (ปุณรังษี) มีบุตร 2 คน
การทำงาน
[แก้]นายอรรถสิทธิ์ เดิมประกอบอาชีพเป็นครูที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม รวมทั้งเป็นนิติกร ที่ศาลากลางจังหวัดนครพนม โดยก่อนจะเริ่มทำงานการเมืองเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุชื่อรายการ "นายคันคาย กระจายข่าว" ซึ่งได้รับความนิยมในพื้นที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งในประเทศ สปป.ลาว จนนำฉายา นายคันคาย นี้มาใช้เป็นชื่อกลาง
อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งในนามพรรคความหวังใหม่เรื่อยมา จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี
อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[2]
ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3] ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อคนไทย รับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[4] และลงสมัครรับเลือกตั้งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 5 ของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562[5][6] โดยมีน้องชายที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นคือ นายเข็มชาติ ทรัพยสิทธิ์ และนายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เข้าร่วมเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเดียวกัน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาและน้องชายได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้การสนับสนุนน้องชายคือนายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เป็นตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดนครพนมของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยมีคะแนนมาเป็นอันดับ 2
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๙๔/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการเมือง (นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์, นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์, นายอำนาจ ชนะวงศ์)
- ↑ "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
- ↑ “อดีตส.ว.นครพนม” ประกาศตั้งพรรค เพื่อคนไทย ตั้งเป้าได้ที่นั่ง 7 คน
- ↑ พรรคเพื่อคนไทยประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง -เห็นชอบเสนอ ‘วิทยา’ นั่งนายก
- ↑ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครพนม
- ครูชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักจัดรายการวิทยุชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.