ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
ไฟล์:ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล.jpg
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ถัดไปชูศักดิ์ ศิรินิล
จักรภพ เพ็ญแข
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มิถุนายน พ.ศ. 2486 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสสุกัญญา โฆวิไลกูล

ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ[1]มูลนิธิสุรเกียรติ์ - ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย[2] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549

ประวัติ[แก้]

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2486[3] สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโททางกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับรองศาสตราจารย์ สุกัญญา โฆวิไลกูล (สกุลเดิม ศิริตันติกร) อดีตอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ผศ.ดร.สิริกัญญา โฆวิไลกูล และนายสิรวิชญ์ โฆวิไลกูล

การทำงาน[แก้]

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เริ่มต้นทำงานเป็นทนายความในสำนักงานทนายความประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ จากนั้นจึงได้ย้ายมาทำงานที่บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ต่อมาได้เข้ามารับราชการเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา อีกทั้งยังเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน หลังจากเกษียณอายุราชการ ได้มารับหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2544 - 2549) [4]

ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีคณะแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]ในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนั้น ก่อนที่จะลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่ทำงานได้เพียง 6 เดือน[6]

นอกจากนั้น ยังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  2. มูลนิธิสุรเกียรติ์
  3. "คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  4. อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายสมหมาย ภาษี)
  6. ประสิทธิ์ ไขก๊อก โบกมืออำลาขิงแก่
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๗๓๕, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒