โอฬาร ไชยประวัติ
โอฬาร ไชยประวัติ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 69 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มกราคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 111 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | สุชาดา ไชยประวัติ |
โอฬาร ไชยประวัติ (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2487) อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย ในสมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดร.โอฬารเป็นเหตุสำคัญในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกรณีการแปรรูป บมจ. กฟผ. [2] รวมทั้งได้เคยลาออกจากการเป็นกรรมการ บมจ.การบินไทย หลังถูกตรวจสอบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน [3]
ประวัติ
[แก้]ดร.โอฬาร ไชยประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของลือ ไชยประวัติ สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย และดารี ไชยประวัติ( สกุลเดิม บรรเลง ธิดาแม่เจ้าฟอง สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงพิมพิสาร เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) จบมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ จบปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา และจบปริญญาเอก สาขาเดียวกัน จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
ใน พ.ศ. 2513 ดร.โอฬาร เริ่มทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในฝ่ายวิชาการ หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2524 ดร.โอฬาร ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน (เป็นตำแหน่งสุดท้ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย) ต่อมาใน พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2544 เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์
ในปี พ.ศ. 2551 ดร.โอฬาร ได้แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[4] นอกจากนี้ ดร.โอฬาร ยังเป็นคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานผู้แทนการค้าไทย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555[5]
กรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
[แก้]ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549 ความตอนหนึ่งดังนี้
[...] ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท นั้น นายโอฬารเป็นกรรมการใน บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงเป็นนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. ซึ่งมีระบบรับส่งข้อมูลประกอบด้วยเส้นใยแก้วนำแสง และต่อมาบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารทุกชนิด บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงมีประโยชน์ได้เสียกับกิจการของกฟผ. และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) นอกจากนั้นนายโอฬารยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ กฟผ. ซื้อก๊าซธรรมชาติจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อีกด้วย นายโอฬารจึงเป็นกรรมการในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. และบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) และมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท และตามหลักฐานประวัติของนายโอฬารที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกคำสั่งแต่งตั้งก็ระบุการเป็นกรรมการดังกล่าวไว้ชัดเจน นายโอฬารจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท อันเป็นการขัดต่อหลักความเป็นกลาง ซึ่งผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งได้รู้หรือควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว คำสั่งแต่งตั้งนายโอฬารเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจึงขัดต่อกฎหมาย และถือได้ว่าเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรง [...] [6]
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ส่วนหนึ่งว่า
[...] ซึ่งตามข้อเท็จจริงของคดีปรากฏว่า การดำเนินการในขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญในการเปลี่ยนทุนของกฟผ. เป็นหุ้นของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทได้เสียไปหรือไม่มีผลตามกฎหมายเนื่องจากได้มีการแต่งตั้งนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ [...] [7]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลนักการธนาคารแห่งปี ประจำปี 2536 2538 และ 2540 จากวารสารดอกเบี้ย[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลนักการเงินแห่งปี 2539 จากวารสารการเงิน ธนาคาร [ต้องการอ้างอิง]
- บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการเงิน [ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลนักธุรกิจดีเด่น ประจำปี 2543 [ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต[ต้องการอ้างอิง]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ "บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ "กรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด ( มหาชน ) ได้ขอลาออก 2 ท่าน มีผลตั้งแต่ วันที่ 4 เมษายน 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-07.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
- ↑ ครม.เห็นชอบ "โอฬาร" นั่งปธ.ผู้แทนการค้า ให้ "อัชพร" เป็นคกก.การประปาฯ
- ↑ "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-23. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ "บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-19.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๘, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- วงศ์วรญาติ
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- ผู้แทนการค้าไทย
- บุคคลจากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย