กอบศักดิ์ ภูตระกูล
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
กอบศักดิ์ ภูตระกูล ป.ม., ต.ช., ต.ภ. | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน 2560 – 29 มกราคม 2562 (1 ปี 67 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ออมสิน ชีวะพฤกษ์ สุวิทย์ เมษินทรีย์ |
ถัดไป | เทวัญ ลิปตพัลลภ |
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 กรกฎาคม 2562 – 16 กรกฎาคม 2563[1] | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (52 ปี) |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–2563) |
ศาสนา | พุทธ |
กอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ การเงิน และตลาดทุน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ประวัติ[แก้]
กอบศักดิ์ ภูตระกูล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จาก Massachusetts Institute of Technology ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เมื่อปี 2540 หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้าน คณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ที่ Williams College ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2534 สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปี 2529 และมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ในปี 2526
การทำงาน[แก้]
หลังสำเร็จการศึกษา ได้กลับมาปฏิบัติงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นเวลา 14 ปี โดยมีประสบการณ์ทำงานด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน ในงานด้านต่างๆ ทั้งส่วนของนโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และได้ถูกยืมตัวไปทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในตำแหน่งผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ดูแลด้านงานวิจัย และผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลฝ่ายพัฒนากลยุทธ์ ในระหว่างปี 2550-2551 ต่อมากลับมาทำงานที่ ธปท. ในตำแหน่งผู้บริหารส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นเมื่อปี 2553 ได้ตัดสินใจลาออกเพื่อหาประสบการณ์ในภาคเอกชน โดยทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กิจการธนาคารต่างประเทศ เป็นเวลา 5 ปี
งานการเมือง[แก้]
เริ่มทำงานในภาคการเมืองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 โดยได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาและปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยในด้านต่างๆ ต่อมาในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] กำกับดูแลสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาวิจัยแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ และ อสมท.
นอกจากนี้ ดร. กอบศักดิ์ยังเคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ[4] ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ [5] กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน[6] กรรมการในคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายระยะเร่งด่วน รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น รวมทั้งยังเคยดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ[7] สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ธุรกิจ และการบริการในคณะกรรมการสภาการศึกษา[8] และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ[9]
งานวิชาการ[แก้]
ในด้านวิชาการ ดร.กอบศักดิ์ ได้ผลิตผลงานการศึกษาด้านต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ วันที่ 9 มีนาคม 2552 ได้รับรางวัล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2552 จากสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ สถาบันทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ 7 สถาบัน และกองทุนป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย คำประกาศเกียรติคุณของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กลั่นกรองผลงานวิชาการในการมอบรางวัล เขียนไว้ว่า
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ซึ่งมีความแม่นยำและความลุ่มลึกในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มีความรัดกุมในวิธีวิทยา ตลอดจนมีความสามารถในการประยุกต์ใช้วิธีการทางเทคนิคในการทดสอบแนวคิดทางทฤษฎีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟื่อย และมีความโดดเด่นที่สามารถตีความข้อมูลเชิงประจักษ์ที่คุ้นเคยให้เกิดมุมมองใหม่ที่น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย งานวิชาการของ ดร. กอบศักดิ์ หลายชิ้นสามารถก่อให้เกิดการถกเถียงและเปิดประเด็นให้เกิดการศึกษาวิจัยสื่บเนื่องอย่างกว้างขวาง
ผลงานวิชาการคุณภาพสูงจำนวนมากของ ดร. กอบศักดิ์ ได้แสดงให้เห็นถึงฉันทะทางวิชาการและความสนใจในการศึกษาวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลาย ครอบคลุมปริมณฑลทางวิชาการอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องนโยบายการเงิน การออม สินเชื่อ ทุนมนุษย์ การประกันสังคม และการค้าระหว่างประเทศ โดยทุกเรื่องล้วนมีนัยทางนโยบายต่อการพัฒนาประเทศไทย...
ต่อมา ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 ได้รับทุนพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย จากมูลนิธิ 50 ปี ธปท. เพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "ปัญหาการกระจายรายได้ในไทยและทางออก" ซึ่งบทวิจัยนี้ได้เป็นพื้นฐานเชิงวิชาการสำคัญ ในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2561 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2560 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
- พ.ศ. 2541 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง จำนวน 2 ราย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี(นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล)
- ↑ "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ครม. ประยุทธ์ 5)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ นายกฯ แต่งตั้ง"กอบศักดิ์"นั่งหัวหน้าทีมติดตาม ศก.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/052/20.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/260/5.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/057/81.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- พนักงานรัฐวิสาหกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.