สุนัย จุลพงศธร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนัย จุลพงศธร
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสเสาวลักษณ์ จุลพงศธร
ลายมือชื่อ

สุนัย จุลพงศธร (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 19 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20 แบบเลือกตั้ง

ประวัติ[แก้]

สุนัย จุลพงศธร เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายจุ่น กับนางหลา จุลพงศธร[1] จบนิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจบศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวางแผนและพัฒนาชนบท จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้[2][3] แล้วเป็นหนึ่งการเคลื่อนไหวนิสิตนักศึกษา ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516[4]

งานการเมือง[แก้]

สุนัย จุลพงศธร เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นประธานสภาเขตสัมพันธวงศ์ ในปี พ.ศ. 2528 เป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) ในปี พ.ศ. 2535 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้สังกัดพรรคพลังประชาชน และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

สุนัย เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อเขาขึ้นอภิปรายตอบโต้ฝ่ายค้าน ในขณะที่เขาสังกัดพรรคพลังประชาชน โดยการเปิดโปงเส้นทางเงินทุนที่เชื่อมโยงระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ และ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนกระทั่งถึงการโจมตีผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุมของพันธมิตรฯ อย่างร้อนแรง

ภายหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ สุนัยก็ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และร่วมเป็นหนึ่งในผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยสุนัยเป็นผู้อภิปราย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 33[5]

ต่อมาเมื่อมีการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 3/2557 และคำสั่งที่ 53/2557 เรียกให้สุนัยไปรายงานตัว แต่เขามิได้ไปตามคำสั่งดังกล่าว ศาลทหารจึงออกหมายจับ มีรายงานว่าเขาเข้าร่วมกับ สมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. "นักการเมืองปริญญาเอก?!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-02-07.
  3. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  4. ญาติวีรชน-คนเดือนตุลา ร่วมรำลึก40ปี14ตุลา ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2556
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. ไม่สงสาร! “สุนัย”รับของแจกประทังชีวิตในฝรั่งเศส “สมชาย”แนะกลับมาขอพระราชทานอภัยโทษ ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สุนัย จุลพงศธร ถัดไป
อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
อำนาจ ชนะวงศ์
สมชาย เพศประเสริฐ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
สมชาย สหชัยรุ่งเรือง
สาคร พรหมภักดี
ปาน พึ่งสุจริต
รัตนา จงสุทธนามณี