รัตน์ ศรีไกรวิน
รัตน์ ศรีไกรวิน | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | สุธรรม ภัทราคม |
ถัดไป | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กันยายน พ.ศ. 2460 |
เสียชีวิต | 15 กันยายน พ.ศ. 2550 (89 ปี) |
คู่สมรส | บุญฑริกา ศรีไกรวิน |
รัตน์ ศรีไกรวิน เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา
ประวัติ
[แก้]รัตน์ ศรีไกรวิน เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายวัลลภ กับนางมลรัฐ ศรีไกรวิน มีพี่น้อง 8 คน จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางบุณฑริกา ศรีไกรวิน
รัตน์ ศรีไกรวิน ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551[1]
การทำงาน
[แก้]รัตน์ ศรีไกรวิน เคยรับราชการเป็นผู้พิพากษา เป็นอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5[2] และเป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แทนนายสุธรรม ภัทราคม ซึ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523[3] และได้เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่[4] ต่อมาก็พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพลเอก เกรียงศักดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
รัตน์ ศรีไกรวิน เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสาธิตบางนา เมื่อปี พ.ศ. 2537[5]
ประสบการณ์
[แก้]- ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริษัท อโซน่า (ประเทศไทย) จำกัด
- ประธานกรรมการบริหารบริษัท โรต้าแผ่นเสียง-เทป จำกัด
- กรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- กรรมการธนาคารออมสิน
- กรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
- กรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
- กรรมการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการเอไอเอ
- กรรมการสมาคมสร้างสรรค์ไทย
- ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย
- กรรมการธนาคารเอเชีย
- กรรมการทุนธนชาต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รัตน์ ศรีไกรวิน
- ↑ "รายนามอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๓
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕๘, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2460
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.