มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ แกนนำและที่ปรึกษาแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
มานิตย์ เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2481 จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ วุฒิเนติบัณฑิตไทย เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ต่อมาในกรณีวิกฤตตุลาการในปี พ.ศ. 2535 มานิตย์ถูกปลดจากตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ภายหลังได้รับการอภัยโทษ และกลับเข้ารับราชการ หลังจากเกษียณอายุแล้ว ยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาพิเศษ และที่ปรึกษากฎหมายพรรคไทยรักไทย
ในปี พ.ศ. 2549 มานิตย์ ได้มีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาล ในคดีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุด พลเอก วาสนา เพิ่มลาภ และในปี พ.ศ. 2550 มานิตย์ได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตุลาการรัฐธรรมนูญ ในการตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้น มานิตย์ ได้เข้าเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อต่อต้านการรัฐประหารของ คปค.
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน มานิตย์จึงเลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่งแทนสมัคร[1]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประวัติการทำงาน
[แก้]- อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หมักยื่นลาออกส.ส.สัดส่วน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๓, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2481
- ผู้พิพากษาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลัง
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์