สุรทิน พิมานเมฆินทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สุรทิน พิมานเมฆินทร์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
พันตำรวจโท สุรทิน พิมานเมฆินทร์ (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 3 สมัย
ประวัติ
[แก้]สุรทิน เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2494[1] เป็นบุตรของนายทองอินทร์ กับนางบุญชู จบการศึกษารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
การทำงาน
[แก้]สุรทินเข้ารับราชการตำรวจหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อมาได้ลาออกมาทำงานการเมืองและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีสังกัดพรรคความหวังใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ต่อมา ทางการประเทศลาวจับกุมและคุมขังในเรือนจำโพนต้อง นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในข้อหาเป็นจารชนของฝ่ายรัฐบาลไทย เพื่อสอดแนมหาข่าวกรองภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 และได้ออกจากเรือนจำเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545
ต่อมา พ.ต.ท. สุรทิน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน และในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ในปี พ.ศ. 2555 พ.ต.ท. สุรทิน สนับสนุนบุตรสาวสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี แข่งขันกับนายวิเชียร ขาวขำ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย[2]
พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์ มีบทบาทเป็นแกนนำในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พันตำรวจโทสุรทิน พิมายเมฆินทร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชิง"นายก อบจ.อุดรฯ"แตกหัก! "สุรทิน"ส่งลูกสาวชน"หาญชัย-วิเชียร" โต้ไม่ขัดมติพรรคพท.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคนำไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคมหาชน
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- นักโทษของประเทศไทย