ปรีชา มุสิกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรีชา มุสิกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
พรรคการเมือง
คู่สมรสอารมณ์ มุสิกุล

นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ[แก้]

นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[1] เป็นบุตรของนายฟื้น กับ นางวาสนา มุสิกุล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาจนสำเร็จปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อนและสุขวิทยา จากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้านครอบครัว ได้สมรสกับนางอารมณ์ มุสิกุล มีบุตรชาย คือ นายสุบวิชชาญ มุสิกุล อดีต สส.กำแพงเพชร

งานการเมือง[แก้]

นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล เคยรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ ประจำโรงพยาบาลกำแพงเพชร ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อเข้าสู่งานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาหลายสมัย

ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[2]

ในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย[5]

กระทั่งวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นายปรีชาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ต่อนาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคและได้ทำสำเนาหนังสือลาออกส่งให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยให้มีผลทันที [6] กระทั่งในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยการนำของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพรรครวมไทยสร้างชาติ ในเวลาต่อมา[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  2. http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_73303.pdf[ลิงก์เสีย]
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  6. รายล่า! อดีตส.ส.-อดีตรมต.หลายสมัยลาออกพ้นประชาธิปัตย์
  7. เปิดรายชื่อ 11 กรรมการบริหาร-ที่ปรึกษา ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]