เทอดพงษ์ ไชยนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสายสุรี จุติกุล
ถัดไปสาวิตต์ โพธิวิหค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้ามารุต บุนนาค
ถัดไปชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)[1]
อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางจันทิพา ไชยนันทน์[1]

เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ (25 มีนาคม พ.ศ. 2487 - ) กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุตรของ เทียม ไชยนันทน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ กับ พร้อม ไชยนันทน์

การศึกษา[แก้]

นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สำเร็จการศึกษามัธยมจากโรงเรียนสารวิทยา ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์-ไฟฟ้ากำลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[3] เมื่อปี พ.ศ. 2512 และปริญญาตรีใบที่สอง สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2520 แล้วยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีเดียวกันอีกด้วย

งานการเมือง[แก้]

นายเทอดพงษ์ เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก พรรคประชาธิปัตย์ 10 สมัย มีฐานเสียงหนาแน่นในพื้นที่ อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] มีบุตรชายคือ นายธนิตพล ไชยนันทน์ ซึ่งเป็น อดีต ส.ส.จ.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ นายเทอดพงษ์ มีพี่สาวคือ คุณหญิงทิพาพร สิตปรีชา อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายเทอดพงษ์ รับผิดชอบดูแลการเลือกตั้งของพรรคในพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นผู้สมัคร ส.ส. ระบบสัดส่วน เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 11 จังหวัด โดยอยู่ในลำดับที่ 1 ของบัญชีรายชื่อ และสามารถชนะการเลือกตั้ง

ประวัติการได้รับเลือกตั้ง[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ[6]
  11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
  2. คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เก็บถาวร 2018-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  7. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ถัดไป
มารุต บุนนาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
ชวน หลีกภัย