ข้ามไปเนื้อหา

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรไทย
ศาลรัฐธรรมนูญ
Constitutional Court
ตราสัญลักษณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
แผนที่
สถาปนา11 ตุลาคม พ.ศ. 2540; 27 ปีก่อน (2540-10-11)
อำนาจศาลประเทศไทย ประเทศไทย
ที่ตั้งเลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ที่มารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
จำนวนตุลาการ9 คน
งบประมาณต่อปี338,873,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ประเภทของศาลศาลรัฐธรรมนูญ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบันนครินทร์ เมฆไตรรัตน์[2]
ตั้งแต่19 มีนาคม พ.ศ. 2567
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
Constitutional Court Office
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง9 เมษายน พ.ศ. 2542; 26 ปีก่อน (2542-04-09)
ประเภทส่วนราชการ
สำนักงานใหญ่เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
บุคลากร225 คน (พ.ศ. 2566)[3]
งบประมาณต่อปี338,873,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[4]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • สุทธิรักษ์ ทรงศิวิไล, เลขาธิการ
  • ร่มปรางค์ สวมประคำ, รองเลขาธิการ
  • อดิเทพ อุยยะพัฒน์, รองเลขาธิการ
  • ฉัตรแก้ว เลิศไพฑูรย์, รองเลขาธิการ
  • ว่าที่เรือตรี ดิเรก สุขสว่าง, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ศาลรัฐธรรมนูญ (ย่อ: ศร.) เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ[5]

หน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญคือ การพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญก็เป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลฯ ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยมีตั้งแต่การประกาศว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยุบพรรคการเมือง และการตัดสินให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง

นุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เคยทำหน้าที่ภายใต้คณะรัฐประหารถึง 2 คณะ อยู่ในตำแหน่งรวม 13 ปี รับเงินเดือนรวมอย่างน้อย 20 ล้านบาท เคยตัดสินยุบพรรคอย่างน้อย 29 พรรค ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีในปี พ.ศ. 2563[6]

ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ศาลรัฐธรรมนูญ ณ ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญหลังเก่า อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์[7]

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ

[แก้]
แผนผังแสดงโครงสร้างและที่มาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน[8] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน[8] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้[9]

  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าขณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 3 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งได้รับสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้รับหรือเคยรับราชการ ในตําแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตําแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จํานวน 2 คน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ซึ่งในฉบับนี้มีการเพิ่มบทกำหนดโทษประชาชนที่ "วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่หยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยให้ศาลมีอำนาจตั้งแต่การตักเตือน การไล่ออกจากบริเวณศาล ไปจนถึงการลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[10]

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

[แก้]
ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญหลังเก่า ณ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

[แก้]

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549

[แก้]

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

[แก้]

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

[แก้]

คำวินิจฉัยที่สำคัญ

[แก้]

หมายเหตุ:

  1. คดีนี้ นาย ชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถมาร่วมได้ เนื่องจาก ลาประชุม ทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เหลือ 8 คน แต่ตามกฎหมายต้องใช้เสียงในการวินิจฉัยไม่น้อยกว่า 7 คน
  2. คดีนี้ นาย วิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถมาร่วมได้ เนื่องจาก ลาป่วย ทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เหลือ 8 คน แต่ตามกฎหมายต้องใช้เสียงในการวินิจฉัยไม่น้อยกว่า 7 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๗ ก หน้า ๑๐๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘
  2. ราชกิจจานุเบกษา.ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ. เล่ม 141 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 1 วันที่ 22 มีนาคม 2567.
  3. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, รายงานประจำปี 2566 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ งบประมาณ
  5. "ชวนรู้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" คืออะไร มีหน้าที่ตรวจสอบ-วินิจฉัยอะไรบ้าง?". กรุงเทพธุรกิจ. 11 พฤศจิกายน 2021.
  6. เปิด 5 เรื่องเด่น นุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ องคมนตรีคนล่าสุด
  7. ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  8. 8.0 8.1 สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา (มกราคม–เมษายน 2008). "เปรียบเทียบองค์ประกอบ ที่มา และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" (PDF). วารสาร ศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 10 (28). ISSN 1513-1246.
  9. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ISBN 978-616-8033-26-5.
  10. "วิจารณ์ศาล รธน.ระวังคุก! สนช. ผ่านกฎหมายลูกแล้ว". BBC News ไทย. 23 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2022.
  11. "30 พฤษภาคม 2550 - ศาลตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย". THE STANDARD. 29 พฤษภาคม 2019.
  12. มติชนสุดสัปดาห์ (23 ธันวาคม 2016). "ย้อนอ่านคำพิพากษาศาลรธน. ผลัก"สมัคร"ตกเก้าอี้นายกฯ ว่าด้วยปม"ลูกจ้าง-ค่าตอบแทน"". มติชนสุดสัปดาห์.
  13. "ย้อนอดีตอาถรรพ์ 2 ธ.ค. 'นายกรัฐมนตรี' ตกเก้าอี้". กรุงเทพธุรกิจ. 1 ธันวาคม 2020.
  14. "ศาลรัฐธรรมนูญกับสภาวะวิกฤติทางการเมือง (2549-2562)". ประชาไท. 14 กุมภาพันธ์ 2019.
  15. "8:0เลื่อนเลือกตั้งได้". กรุงเทพธุรกิจ. 25 มกราคม 2014.
  16. "ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ยิ่งลักษณ์พ้นนายกรัฐมนตรี". sanook.com. 7 พฤษภาคม 2014.
  17. "มติเอกฉันท์ศาล รธน. สั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" สถาบันฯ". BBC News ไทย. 7 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  18. "ศาลรัฐธรรมนูญชี้ หัวหน้า คสช. "ไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"". BBC ไทย. 18 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2021.
  19. "อนาคตต่อไป ของ อนาคตใหม่ หลัง ศาล รธน. สั่ง ธนาธร พ้นสภาพ ส.ส." BBC News ไทย. 20 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  20. "ศาลรธน.ยกคำร้อง อนาคตใหม่ ล้มล้างการปกครอง คดีอิลลูมินาติ". มติชนออนไลน์. 21 มกราคม 2020.
  21. "อนาคตใหม่ : มติศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ กก.บห. 10 ปี". BBC News ไทย. 21 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
  22. "สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กับ "ข้อต่อสู้หลัก" ที่ทำ พล.อ. ประยุทธ์ พ้นผิด "คดีพักบ้านหลวง"". BBC News ไทย. 2 ธันวาคม 2020.
  23. 23.0 23.1 "คำวินิจฉัยฉบับเต็ม! ศาลรัฐธรรมนูญ คดีประวัติศาตร์ กับ มติ 8:1 'ล้มล้างการปกครอง'". ข่าวสด. 11 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2021.
  24. "Thai court rules calls for curbs on monarchy are 'abuse of freedoms'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 10 พฤศจิกายน 2021.
  25. "เปิดเหตุผล ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรธน. ปมจำกัดสมรสแค่ชายหญิงไม่ขัดรธน". มติชนออนไลน์. 3 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2021.
  26. "ด่วน! ศาลรธน.รับคำร้องปม 8 ปี นายกฯ สั่ง"บิ๊กตู่"หยุดปฏิบัติหน้าที่". ฐานเศรษฐกิจ. 24 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2022.
  27. "บิ๊กตู่ พ้นบ่วง! มติ 6 : 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ให้คัมแบ๊กทำเนียบ ชี้เป็นนายกฯมาไม่ถึง 8 ปี". มติชนออนไลน์. 30 กันยายน 2022.
  28. "มติศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ชี้ "ประยุทธ์" เป็นนายกฯยังไม่ครบ 8 ปี". Thai PBS. 30 กันยายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]