ข้ามไปเนื้อหา

วัชรินทร์ เกตะวันดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชรินทร์ เกตะวันดี
ไฟล์:วัชรินทร์ เกตะวันดี.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475
อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
เสียชีวิต7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (82 ปี)
พรรคการเมืองกิจสังคม (2517–2519)
ประชาธิปัตย์ (2519–2557)
คู่สมรสสุจิตรา เกตะวันดี

วัชรินทร์ เกตะวันดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 5 สมัย อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1]

ประวัติ

[แก้]

นายวัชรินทร์ เกตะวันดี เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ภูมิลําเนาเกิดที่บ้านปากหมาก ตําบลศรีสองรัก อําเภอเมือง จังหวัดเลย[2] เป็นบุตรของนายเครื่อง กับ นางสงค์ เกตะวันดี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเลยพิทยาคม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และระดับปริญญาโทสาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล[3][4]

วัชรินทร์ สมรสกับ นางสุจิตรา เกตะวันดี มีธิดา 3 คน

วัชรินทร์ เกตะวันดี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 สิริอายุรวม 82 ปี[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี[5]

การทำงาน

[แก้]

วัชรินทร์ เริ่มทำงานเป็นข้าราชการครูด้วยการดำรงตำแหน่งครูช่วยราชการแผนกศึกษาธิการจังหวัดเลย ในช่วง พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2501 จากนั้นย้ายมาทำงานที่โรงเรียนวัดคลองเตย

หลังจากนั้นได้เข้าทำงานประจำแผนกโรงเรียน กองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นครูโท หัวหน้าหมวดวิชาภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ และดำรงตำแหน่งเป็นวิทยากรวางแผนการศึกษา กรมสามัญศึกษา ก่อนที่จะลาออกจากราชการเพื่อมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน พ.ศ. 2517

งานการเมือง

[แก้]

นายวัชรินทร์ เกตะวันดี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 5 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 4 สมัย ในปี พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2535 (2 สมัย)

นายวัชรินทร์ เกตะวันดี เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18 มีบทาทในการสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ[6] เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2529[4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 81[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 78 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[7][8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

วัชรินทร์ เกตะวันดี ประกอบกิจการเหมืองแร่ โดยได้รับใบอนุญาตประทานบัตร ในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อดีตส.ส. เลย 5 สมัย ปชป. ถึงแก่กรรมแล้ว
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-04-18. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
  3. 3.0 3.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 ด่วน!!'วัชรินทร์ เกตะวันดี'อดีตรมช.สาธารณสุขถึงแก่กรรม
  5. คัด"ข่าว"กรอง"คน" วันที่ 16 กรกฎาคม 2557... อ่านต่อที่ : https://d.dailynews.co.th/article/252443/
  6. "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-07-18.
  7. ยาขมจาก พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  9. ใบอนุญาตประทานบัตร
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕