เขตบางบอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตบางบอน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Bon
ถนนบางขุนเทียนช่วงตลาดบางบอน
ถนนบางขุนเทียนช่วงตลาดบางบอน
คำขวัญ: 
หลวงพ่อขาวทรงฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเกษร งามนคเรศเขตบางบอน สมุทรสาครชิดชายแดน ถนนวงแหวนคู่อุตสาหกรรม น้อมนำเกษตรพอเพียง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางบอน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางบอน
พิกัด: 13°39′50″N 100°24′32″E / 13.66389°N 100.40889°E / 13.66389; 100.40889
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด34.745 ตร.กม. (13.415 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด100,203[1] คน
 • ความหนาแน่น2,883.96 คน/ตร.กม. (7,469.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10150
รหัสภูมิศาสตร์1050
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ซอยเอกชัย 135/1 (เสือโต) ถนนเอกชัย แขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangbon
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบางบอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ[แก้]

บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1[2] โคลงนิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2[3] และ นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4[4][5] ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น[6]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน

ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน[10] ต่อมาใน พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน[10]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางบอนและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 4 แขวง โดยมีถนนเอกชัยและถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน[11] ส่งผลให้เขตบางบอนในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
2.
บางบอนเหนือ Bang Bon Nuea
15.203
22,472
1,478.13
แผนที่
3.
บางบอนใต้ Bang Bon Tai
8.939
23,997
2,684.53
4.
คลองบางพราน Khlong Bang Phran
5.423
30,808
5,680.99
5.
คลองบางบอน Khlong Bang Bon
5.180
22,926
4,425.87
ทั้งหมด
34.745
100,203
2,883.96

หมายเลขที่หายไปคือแขวงที่ถูกยุบเลิก

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางบอน ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

สถานที่สำคัญ[แก้]

ทางน้ำ[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในเขตนี้ พืชที่ปลูกได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะพร้าว กล้วยไม้ และดอกบัว เป็นต้น[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  2. โคลงนิราศทวาย เก็บถาวร 2009-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากตู้หนังสือเรือนไทย.
  3. นิราศนรินทร์ จากวิกิซอร์ซ.
  4. "นิราศเมืองเพชร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  5. เนื่องจากการเดินทางทางน้ำเพื่อจะทะลุออกไปยังแม่น้ำท่าจีนในแถบนี้จะใช้คลองด่าน คลองสนามชัย และคลองมหาชัยเป็นหลัก หมู่บ้านบางบอนในนิราศทั้งสามเรื่องจึงน่าจะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางบอนแยกจากคลองวัดสิงห์หรือริมคลองสนามชัย (ระหว่างวัดไทร วัดสิงห์ และวัดกก) เช่นเดียวกับหมู่บ้านรายทางแห่งอื่น ๆ ที่ผู้ประพันธ์กล่าวถึง ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่ย่านนั้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตจอมทองและเขตบางขุนเทียน ไม่เกี่ยวข้องกับท้องที่เขตบางบอนหรือแขวงบางบอนโดยตรง
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57: 2598–2606. 29 ตุลาคม 2483.
  7. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางขุนเทียน และตั้งเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 61–65. 18 พฤศจิกายน 2540.
  10. 10.0 10.1 สำนักงานเขตบางบอน. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001057&strSection=aboutus&intContentID=549[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
  11. "ยุบพื้นที่แขวงบางบอน และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพราน และแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 53–56.
  12. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  13. สนุก! ออนไลน์. "สองเท้าพาเดิน: ชีวิตชาวสวนและแหล่งผลิตดอกไม้ย่านบางบอน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_08195.php. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]