พิศาล มูลศาสตรสาทร
พิศาล มูลศาสตรสาทร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ไพจิตร เอื้อทวีกุล |
ถัดไป | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ถัดไป | ประสงค์ บูรณ์พงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
เสียชีวิต | 27 มีนาคม พ.ศ. 2539 (66 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง มะลิ มูลศาสตรสาทร |
บุตร | 5 คน |
พิศาล มูลศาสตรสาทร (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ประวัติ
[แก้]พิศาล มูลศาสตรสาทร เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของขุนมูลศาสตรสาทร (พงศ์ มูลศาสตรสาทร) กับนางผกา มูลศาสตรสาทร และเป็นพี่ชายแท้ของ นายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ (ส.ส.สุรินทร์) 7 สมัย สมรสกับ คุณหญิงมะลิ มูลศาสตรสาทร (สกุลเดิม สันติภพ) มีบุตร 5 คน รวมถึงเกียรติศักดิ์ มูลศาสตรสาทร อดีตรองผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และ ทศพร มูลศาสตรสาทร อดีต ส.ส. สุรินทร์ 2 สมัย
พิศาล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 67 ปี
การทำงาน
[แก้]พิศาล มูลศาสตรสาทร รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม, จังหวัดศรีสะเกษ ตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2532 รวมระยะเวลากว่า 8 ปี[1] ต่อมาจึงได้เข้ามาสู่วงการการเมืองและได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 2 สมัย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[2][3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พิศาล มูลศาสตรสาทร ได้รับฉายาว่า "ปลัดฮิ" มาจากการที่เคยเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย จากบุคลลิกที่เป็นผู้ทำงานว่องไว ตอบสนองฝ่ายการเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการล้อคำโฆษณาทางโทรทัศน์ของโทรทัศน์สียี่ห้อ ฮิตาชิ ที่ว่า "เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ"[4]
นอกจากนั้นในทางการเมือง เขายังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปลัดทูลฉลองและปลัดกระทรวงมหาดไทยในอดีต[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ลิงก์เสีย]
- ↑ อธิบดีฮิ “เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ” โดย วันชัย ตัน, มติชน: ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๙, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๒๐๑๖, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2472
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2539
- บุคคลจากอำเภอเมืองสุรินทร์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
- ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา