วราวุธ ศิลปอาชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วราวุธ ศิลปอาชา
วราวุธ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 200 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าจุติ ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
ถัดไปพัชรวาท วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าทรงศักดิ์ ทองศรี
อนุรักษ์ จุรีมาศ
ถัดไปประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 361 วัน)
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2565
(1 ปี 168 วัน)
ก่อนหน้ากัญจนา ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2538–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2557–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุวรรณา ศิลปอาชา
บุพการี
ลายมือชื่อ

วราวุธ ศิลปอาชา ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516) ชื่อเล่น ท็อป เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ[แก้]

นายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[2] มีชื่อเล่นว่า "ท็อป" เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา (เลขวัต) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) นายกสมาคมกีฬาฟิกเกอร์และสปีดสเก็ตติ้งแห่งประเทศไทย/กรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสาวของ กุ้ง-รวิช ไรวินท์ นักแสดงชื่อดัง และพี่สาวของ หญิง-กัญญา ไรวินท์ พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ 1. ด.ญ.ฑีฆรี ศิลปอาชา (เทมส์) 2. ด.ช.ฤทธน ศิลปอาชา (บิ๊กเบน) 3. ด.ช.ปฬมพร ศิลปอาชา (ออสติน)

การศึกษา[แก้]

วราวุธ ศิลปอาชา จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี B.Eng. (Mechanical Engineering) มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาโท MBA in Finance and Banking มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน[แก้]

วราวุธ ศิลปอาชา เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองตามบิดา โดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2544, 2548 และ 2550 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] ปี 2557 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ในปี 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า[6] เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ในปี 2566 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีกสมัย[7] และต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[8]

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา

เกียรติคุณ[แก้]

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๔, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง หน้า ๓, ๒๔ กันยายน ๒๕๕๑
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๑๑๘, ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  7. ด่วน! กกต.ประกาศรับรอง 500 ส.ส.แล้ว
  8. "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
  9. "วราวุธ ศิลปอาชา" เข้ารับพระราชทาน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูล[แก้]

ก่อนหน้า วราวุธ ศิลปอาชา ถัดไป
จุติ ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ครม. 62)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ทรงศักดิ์ ทองศรี
อนุรักษ์ จุรีมาศ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ครม. 58)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
กัญจนา ศิลปอาชา
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง