กิตติ สีหนนทน์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กิตติ สีหนนทน์ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 24 มกราคม พ.ศ. 2527 (8 ปี 212 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (0 ปี 263 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ประกอบ หุตะสิงห์ |
ถัดไป | เทียม ไชยนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
เสียชีวิต | 24 มกราคม พ.ศ. 2527 (73 ปี 71 วัน) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | สิรินทร์ สีหนนทน์ |
ลายมือชื่อ | |
นายกิตติ สีหนนทน์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 24 มกราคม พ.ศ. 2527) อดีตองคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และอดีตรองประธานศาลฎีกา
ประวัติ
[แก้]นายกิตติ สีหนนทน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมชื่อว่า สกิด ร่มไม้เกต เป็นบุตรชายคนโตของนายโกเซ่ง และนางผิน ร่มไม้เกต บิดามารดามีอาชีพค้าขาย มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน
- นายอาบ สีหนนทน์ (ถึงแก่กรรม)
- นายบุญยิ่ง สีหนนทน์ (ถึงแก่กรรม)
- นางบุษบง นวรัตน์ (ถึงแก่กรรม)
อุปสมบท
[แก้]นายกิตติ สีหนนทน์ ได้ทำการอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 มีฉายาว่า พระคุณสฺสติ โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
ครอบครัว
[แก้]นายกิตติ สีหนนทน์ ได้สมรสกับนางสิรินทร์ สีหนนทน์ (ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2510) บุตรี พลตรี พระยาวิเศษสงคราม (ช้อย จันทรสนธิ) และคุณหญิงสิน วิเศษสงคราม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2490 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ ซึ่งได้ทำการสมรสกับนางบุษรัตน์ สีหนนทน์
ประวัติการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2461 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนายสนธิ์ ภูมิพัฒน์
- พ.ศ. 2464 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดทรงธรรม
- พ.ศ. 2469 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ. 2472 ได้กฎหมายภาค 1 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2473 ได้กฎหมายภาค 2 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2474 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
ประวัติการรับราชการ
[แก้]เริ่มรับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ได้บรรจุเป็นข้าราชการชั้นจัตวา ตำแหน่งจ่าศาลประจำศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นตรี ตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2480 ได้รับราชการเป็นข้าราชการตุลาการสามัญชั้นโท รับราชการศาลอาญา และได้โยกย้ายไปเป็นผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดต่างๆ กับทั้งได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นลำดับดังนี้
- 27 เมษายน พ.ศ. 2481 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชัยภูมิ
- 1 เมษายน พ.ศ. 2483 เลื่อนเป็นข้าราชการตุลาการสามัญชั้นโท อันดับที่ 4
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระตะบอง
- 2 เมษายน พ.ศ. 2488 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิบูลสงคราม
- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 รับราชการศาลอาญา
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสระบุรี
- 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเบตง (ข้าราชการตุลาการสามัญชั้นเอก)
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา
- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ผู้พิพากษาศาลแพ่ง (ข้าราชการตุลาการชั้น 3)
- 29 มกราคม พ.ศ. 2502 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (ข้าราชการตุลาการชั้น 4)
- 15 มกราคม พ.ศ. 2504 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ (ข้าราชการตุลาการชั้น 5)
- 1 มกราคม พ.ศ. 2505 อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
- 15 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ผู้พิพากษาศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 6)
- 15 ตุลาคม พ.ศ. 2508 อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 7)
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 รองประธานศาลฎีกา (ข้าราชการตุลาการชั้น 8) จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2514
- 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี จนกระทั่งถึงอสัญกรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[1]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[4]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[6]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ราชการพิเศษ
[แก้]- 8 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นกรรมการศาลมณฑลทหารเขตจังหวัดชัยภูมิ
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการชำระสะสางราชการธุรการของศาลอาญา
- 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
- 3 - 12 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นเลขานุการ 1 ของการประชุมสัปดาห์แห่งอาชญากรรม พ.ศ. 2498
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นกรรมการสอบความรู้กฎหมายของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- เป็นผู้บรรยายกฎหมาย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นรองประธานคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี
- 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- 1 กันยายน พ.ศ. 2518 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เป็นกรรมการร่างกฎหมาย
งานพิเศษ
[แก้]- ที่ปรึกษากฎหมายบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการร่างกฎหมายคณะที่ 4
- ประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิวชิราลงกรณ
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- กรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม
- กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
- กรรมการธนาคารออมสิน
- กรรมการบริษัท หลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด
- กรรมการบริษัท Y.K.K. Zipper (Thailand) Co., Ltd.
- กรรมการบริษัท Y.K.K. Trading Co., Ltd.
- กรรมการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]นายกิตติ สีหนนทน์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 เวลา 20.30 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ แพทย์สันนิษฐานว่า สาเหตุเนื่องจากเส้นเลือดที่ขั้วหัวใจโป่งพองและแตก หรือที่เรียกว่า โรคแอนูริซั่มของเออร์ต้าในทรวงอก รวมสิริอายุ 73 ปี 2 เดือน 10 วัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๓, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลจากอำเภอพระประแดง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2