หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 – 20 กรกฎาคม 2563 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว |
ถัดไป | สุชาติ ชมกลิ่น |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม 2541 – 30 พฤษภาคม 2544 | |
ก่อนหน้า | ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กันยายน พ.ศ. 2486 (77 ปี) |
พรรคการเมือง | รวมพลังประชาชาติไทย (2561–2563) |
บิดา | หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล |
มารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน |
คู่สมรส | รัชนี คชเสนี (หย่า) คุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (เกิด 28 กันยายน 2486) นักการเมืองและนายธนาคารชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย[1] กรรมการกฤษฎีกา[2]กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[3][4] ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและรองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง สื่อมวลชนเรียก หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล กันติดปากว่า คุณชายเต่า หรือ หม่อมเต่า(ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)
ประวัติ[แก้]
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล โอรสของพลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นโอรสคนสุดท้องในจำนวนสี่คน คือ
- หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล (นักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น) [5]
- พันเอก หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล (ถึงแก่กรรม)
- หม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โชติกเสถียร (โสณกุล) (ถึงแก่กรรม)
- หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนแฮร์โรว์ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 2508 ปริญญาโทบริหารรัฐกิจ จาก Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี 2512 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี 2532
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล สมรสกับ รัชนี คชเสนี มีบุตร 1 คน คือ
- หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล สมรสครั้งที่สองกับ คุณหญิงบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองไข่มุกข์) มีบุตร 2 คน คือ
- หม่อมหลวงอรมงคล โสณกุล
- หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 6 พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ (ต่อจาก หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร)[6]
การรับราชการ[แก้]
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เริ่มรับราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จนกระทั่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในภายหลังได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมสรรพากร และปลัดกระทรวงการคลัง เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2539[7] เมื่อปี 2540 ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง เกิดความขัดแย้งด้านนโยบายการคลังกับรัฐบาลในยุคพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และถูกคำสั่งย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงลาออกจากราชการทันที ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[8] เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรที่ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ทบทวนนโยบายด้านดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ธุรกิจ[แก้]
หลังจากเกษียณราชการแล้ว ได้หันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้านอาหาร Orangery และ Lemongery ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ร้านเสื้อผ้า และร้านชุดชั้นในสตรี [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2531 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2545 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2540 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2537 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2534 -
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
ลำดับสาแหรก[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ https://prachatai.com/journal/2018/08/78135
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/309/1.PDF
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ http://www.ayumongol-sonakul.com/
- ↑ http://www.apimongkol.org
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน
- ↑ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล “ชีวิตเริ่มต้นเมื่อเกษียณ”
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๑ เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาและจักรมาลา ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕ เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐, ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ | ![]() |
![]() ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (7 พฤษภาคม 2541 – 30 พฤษภาคม 2544) |
![]() |
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
|
|
|
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- หม่อมราชวงศ์
- ราชสกุลโสณกุล
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย
- ปลัดกระทรวงการคลังไทย
- อธิบดีกรมสรรพากร
- อธิบดีกรมสรรพสามิต
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- พรรครวมพลังประชาชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา