ต่อพงษ์ ไชยสาส์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพรรณสิริ กุลนาถศิริ
ถัดไปสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยสร้างไทย
คู่สมรสธัญญธร ไชยสาส์น

ต่อพงษ์ ไชยสาส์น รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นบุตรชายของนายประจวบ ไชยสาส์น อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม

ประวัติ[แก้]

ต่อพงษ์ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรของนายประจวบ ไชยสาส์น กับนางทองพูน ไชยสาส์น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันกอล์ฟซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยอเมริกัน[1] และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน[แก้]

ต่อพงษ์ ไชยสาส์น ทำงานเป็นพนักงานธนาคารในช่วงแรก ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2554 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 121[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] ต่อมาถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 [4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 96[5]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 36[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติผู้สมัคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  7. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑