สมยศ พฤกษาเกษมสุข
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
สมยศ พฤกษาเกษมสุข (20 กันยายน พ.ศ. 2504 - ปัจจุบัน) เป็นคอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท[1]นักกิจกรรมแรงงาน ประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย, แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, และบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ
สมยศจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีประวัติเคลื่อนไหวด้านแรงงานเรื่อยมา โดยเป็นคนคุมแรงงานออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องกับรัฐบาลในหลายครั้ง เคยเขียนบทความต่อต้านรัฐบาลทักษิณในเว็บไซต์ของ Thai NGO ชื่อบทความ "พฤติกรรมเผด็จการรัฐบาลทักษิณ"
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 สมยศได้รับเลือกให้เป็นแกนนำชุดที่ 2 ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นอกจากนี้เขายังเป็นประธานกลุ่ม 24 มิถุนา และเจ้าของนิตยสารและสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ อีกด้วย บล็อก Anti-Corruption Center อ้างว่าเขาคือ "ประดาบ" คอลัมนิสต์ออนไลน์ชื่อดังแห่งเว็บ ไฮ-ทักษิณ ภายในวันเดียวกันที่ เว็บไซต์ผู้จัดการได้นำเอาข่าวจากบล็อก Anti-Corruption Center มาเปิดเผยตัวตนของประดาบนั้นเอง ประดาบก็ได้ออกมาเขียนบทความ "ประดาบก็คือประดาบ" ตอบโต้ในเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่สมยศ และยินดีจะเปิดเผยตัวตนเมื่อ วาระแห่งกาลอวสานของเผด็จการ
เนื้อหา
ร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม[2][แก้]
ขณะที่สมยศทำงานเป็นนักกิจกรรมแรงงาน เขาได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดัน พรบ ประกันสังคม ในยุครัฐบาลชาติชาย จนเกิดเป็นกฏหมายในที่สุด
การถูกจับกุมเมื่อ 30 เมษายน 2554[แก้]
เวลาประมาณ 12:00 ของวันที่ 30 เมษายน 2554 สมยศถูกควบคุมตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประทศ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งต่อเขาว่า เขาถูกออกหมายจับโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ") [3]โดยในขณะที่สมยศเป็นบรรณาธิการว๊อยซ์ออฟทักษิณ ได้มีบทความ บางบทความ ที่มีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อาทิ บทความ บ้านจะดีต้องเริ่มที่พ่อ [4]ผู้เขียนได้แก่ ดร.ชนาธิป ศิริปัญญาวงค์ เขาซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกจับกุมในขณะที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ได้รับการปล่อยตัวในรัฐบาลเผด็จการทหาร
ทนายความของสมยศได้พยายามติดต่อขอประกันตัวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ไม่ได้ประกันตัว[5]
ภายหลังที่สมยศถูกจับ มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการคุกคามเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายนี้ จากกลุ่ม Article 112[6] และสหภาพแรงงานประเทศเนปาล ได้ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นให้ปล่อยตัวทันที หรือ ขอให้ได้รับการประกันตัว[7]เขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมจำคุก 7 ปี โดยโทษจำคุกนี้รวมคดีหมิ่นประมาท พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร แล้ว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สมยศ พฤกษาเกษมสุข: สมควรลงโทษประหารชีวิตพวกเศษเดนมนุษย์หรือไม่ ?
- ↑ สมยศเล่าเรื่องความเป็นมาของ พรบ ประกันสังคม
- ↑ http://www.prachatai.com/journal/2011/04/34311
- ↑ แค้นฟ้า! “สื่อทักษิณ” เดินหน้ากดดันเบื้องสูงหนัก
- ↑ http://www.prachatai.com/journal/2011/05/34328
- ↑ http://www.prachatai.com/journal/2011/05/34341
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304664927&grpid=&catid=02&subcatid=0202
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการปรับ
- บทความวิกิพีเดียทั้งหมดที่ต้องการปรับ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักโทษในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นักโทษของประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์