การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย |
การเมืองไทย |
---|
![]() |
![]() |
![]() |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คาดว่าจะจัดขึ้นไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[5] หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 25 ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 อย่างไรก็ตาม หากมีการยุบสภาก่อนหน้านั้น การเลือกตั้งก็จะจัดขึ้นภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภามีผลใช้บังคับ[6]
เบื้องหลัง[แก้]
หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง กองทัพได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เพื่อขับไล่รัฐบาลรักษาการพลเรือน คณะนายทหารที่รู้จักกันในชื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขึ้นสู่อำนาจภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้นและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ พวกเขาห้ามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและห้ามติดตามผลประชามติ นักเคลื่อนไหวต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกจับกุม ควบคุมตัว และดำเนินคดีในศาลทหาร[7] ขณะที่ผู้ออกมาแสดงเจตนาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก็ถูกรัฐบาลทหารจับกุมและดำเนินคดีเช่นกัน[8]
ในปี พ.ศ. 2562 หลังจากเกิดความล่าช้าหลายครั้ง ในที่สุดรัฐบาลทหารก็จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่าพลเอกประยุทธ์มีข้อได้เปรียบ เนื่องจากวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมดโดยรัฐบาลทหารและการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในช่วงนาทีสุดท้าย[9][10]
พลเอกประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[11] ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 8 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดวาระนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากมีการตีความมากมายเกี่ยวกับการเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[12][13][14] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาให้วาระการดำรงตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์เริ่มในปี พ.ศ. 2560 ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หมายความว่าเขาอาจดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงปี พ.ศ. 2568 หากเขาได้รับเลือกจากรัฐสภาอีกครั้ง
ปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดการแตกแยกในพรรคพลังประชารัฐระหว่างพลเอกประยุทธ์กับรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่สนิทคือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หลังจากที่พลเอกประวิตรแสดงจุดยืนต่อพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ได้ประกาศความสนใจที่จะสมัครเป็นสมาชิก รทสช. และสมัครเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของพรรคดังกล่าวในเดือนถัดมา มีการคาดหมายว่าเขาจะเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนเดียวของ รทสช. ด้านพรรคภูมิใจไทย (ภจท.) มีผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านบางส่วน รวมถึงนักการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง ได้ลาออกจากพรรคเดิมที่ตัวเองสังกัดไปร่วมงานกับ ภจท. เพื่อเพิ่มโอกาสชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
ระบบเลือกตั้ง[แก้]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนจะได้รับเลือกโดยใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงด้วยบัตรใบเดียว เพื่อเลือก ส.ส. 350 ที่นั่งจากเขตเลือกตั้ง และอีก 150 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามคะแนนของพรรคการเมืองทั้งประเทศ[15] หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร 500 ที่นั่ง จะลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีในการประชุมร่วมกับวุฒิสภาอีก 250 ที่นั่ง วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. จะอยู่ในวาระจนถึงปี 2567 จึงคาดว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน[16]
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้มีการลงคะแนนเสียง 472 ต่อ 33 เสียง (งดออกเสียง 187 เสียง) เพื่อกลับมาใช้การลงคะแนนระบบคู่ขนานที่เคยใช้เมื่อช่วงก่อนปี 2560 ในระบบนี้ จะมี ส.ส. 400 ที่นั่งที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และลดจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลงเหลือ 100 ที่นั่ง จากเดิม 150 ที่นั่ง[17] ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องลงคะแนนโดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตและพรรคการเมืองที่ตนต้องการ[17] ต่างจากระบบก่อนหน้าที่ผู้มีสิทธิ์แต่ละคนลงคะแนนเสียงเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือก ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ[18] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากระบบนี้จะทำให้พรรคดังกล่าวได้ที่นั่งในสภายากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน
ในช่วง พ.ศ. 2565 มีการถกเถียงว่าจะใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบใดระหว่าง "สูตรหาร 100" กับ "สูตรหาร 500" ซึ่งถ้าใช้สูตรหาร 500 จะทำให้เกิดที่นั่งส่วนเกิน (Overhanging seat) แบบเดียวกับในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 และทำให้คะแนนเสียงพึงมีของ ส.ส. 1 ที่นั่งต่ำลง ซึ่งเอื้อต่อการตีความให้พรรคเล็กได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2565 มีการใช้กลยุทธ์ไม่มาประชุมจนสภาขาดองค์ประชุม ทำให้การพิจารณาแก้ไขเป็นสูตรหาร 500 ต้องตกไป และกลับไปใช้สูตรหาร 100 โดยปริยาย[19]
จากการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้พรรคขนาดเล็กเสียเปรียบในสนามเลือกตั้ง จึงนำไปสู่การเจรจาควบรวมพรรค และจัดตั้งพันธมิตรทางการเมืองของพรรคขนาดเล็กต่าง ๆ ได้แก่ การควบรวมพรรคชาติพัฒนาและพรรคกล้าเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า,[20] การจับมือระหว่างพรรคไทยสร้างไทยและพรรคสร้างอนาคตไทย[21][22] รวมไปถึงเกิดการย้ายพรรคของนักการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าการใช้เงินซื้อตัวผู้สมัคร ส.ส. และระบบ "บ้านใหญ่" หรือตระกูลที่มีอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่นจะกลับมามีบทบาท[23]
เดือนมกราคม 2566 มีการผ่านกฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ[24] คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2566 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566[25] สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน [26] มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2566 ซึ่งรัฐบาลจะยุบสภาทันทีเลยก็ได้ หรืออยู่ครบวาระซึ่งจะครบเทอมในวันที่ 24 มีนาคม 2566 [27] ไม่ว่าจะวิธีการใด คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องจัดให้มีระยะเวลาสำหรับเตรียมการเลือกตั้งประมาณ 45 วัน (พิจารณารูปแบบแบ่งเขต 25 วัน , คัดสรรผู้สมัคร สส 20 วัน)[28]
เขตการเลือกตั้ง[แก้]
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการส่งหนังสือด่วนถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานคร โดยมีการระบุถึงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ และระบุให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่เตรียมแบ่งเขตเลือกตั้งไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 รูปแบบ และเมื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับ จะได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป[29] กกต. ได้คำนวณให้มี ส.ส. 1 คน ต่อราษฎร 165,428.5975 คน โดยใช้ข้อมูลจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นฐานในการคำนวณ[30]
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้[29]
พื้นที่ | จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
---|---|
กรุงเทพมหานคร | 33 |
นครราชสีมา | 16 |
ขอนแก่น, เชียงใหม่ และอุบลราชธานี | 11 |
ชลบุรี และบุรีรัมย์ | 10 |
นครศรีธรรมราช, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี | 9 |
เชียงราย, นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ | 8 |
ชัยภูมิ, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี | 7 |
กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม | 6 |
กาญจนบุรี, นราธิวาส, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี และสุพรรณบุรี | 5 |
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, ตาก, นครพนม, ปัตตานี, ลพบุรี, ลำปาง, เลย, สมุทรสาคร, สระบุรี และสุโขทัย | 4 |
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุตรดิตถ์ | 3 |
ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี | 2 |
ตราด, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม | 1 |
ก่อนการเลือกตั้ง[แก้]
ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงมกราคม พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการขึ้นป้ายหาเสียงล่วงหน้า เช่น พรรคเพื่อไทย[31], พรรคประชาธิปัตย์[32], พรรครวมไทยสร้างชาติ[33] และพรรคก้าวไกล[34] เป็นต้น เวลาเดียวกันมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นอดีต ส.ส. สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[35] ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
ปลายเดือนธันวาคม 2565 ผู้นำฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา[36] และในเดือนมกราคม 2566 มีการเปิดเผยโดย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ว่าหลานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "คดีทุนจีนสีเทา"[37]
มีการวิเคราะห์ว่าพลเอกประยุทธ์จะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน หลังปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 28 กุมภาพันธ์[38] บ้างก็คาดเดาว่าเขาอาจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลี่ยงการอภิปรายของฝ่ายค้าน[39] ด้าน ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย คาดการณ์ว่าอาจมีการยุบสภาในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม[40]
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย วิเคราะห์ว่าหากเครือข่ายประยุทธ์ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[41] และต่อมา กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่าหากนายกรัฐมนตรีเป็นคนดี ก็ไม่ควรจำกัดวาระไว้ที่ 8 ปี[42] ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. อีกคนหนึ่ง กล่าวว่า นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของกิตติศักดิ์ และต้องผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามปกติ[43]
ในเดือนมกราคม 2566 มีการเปิดตัว "เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566" ซึ่งประกอบด้วยองค์การนอกภาครัฐกว่า 100 แห่ง และออกแถลงการณ์เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพราะมีความกังวลในเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใสของการเลือกตั้ง[44]
ในเดือนเดียวกัน ยังมีการอดอาหารประท้วงของเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและเรียกร้องพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116[45] พรรคการเมืองฝ่ายค้านมีมติร่วมกันตามข้อเรียกร้อง 2 ข้อโดยไม่กล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายอาญา 2 มาตราดังกล่าว[46] ต่อมามีผู้ชุมนุมเดินทางไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อเรียกร้องให้พรรครับข้อเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย[47]
ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี[แก้]
พรรคก้าวไกล | พรรคพลังประชารัฐ | พรรคเพื่อไทย | พรรคภูมิใจไทย | พรรครวมไทยสร้างชาติ |
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ | ประวิตร วงษ์สุวรรณ | แพทองธาร ชินวัตร | อนุทิน ชาญวีรกูล | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
---|---|---|---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ 2562) |
รองนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ 2562) |
หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย (ตั้งแต่ 2565) |
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ตั้งแต่ 2562) |
นายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ 2557) |
ผลสำรวจ[แก้]
พรรคที่ต้องการ[แก้]
ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | พลังประชารัฐ | เพื่อไทย | ก้าวไกล | ประชาธิปัตย์ | รวมไทยสร้างชาติ | ไม่เลือกพรรคใด | อื่น ๆ | คะแนนนำ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
17–22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,000 | 4.00% | 42.95% | 16.60% | 5.35% | 6.95% | 8.30% | 15.85% | 26.35% |
15–21 กันยายน พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,500 | 5.56% | 34.44% | 13.56% | 7.56% | — | 24.00% | 14.88% | 20.88% |
20–23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,500 | 7.00% | 36.36% | 17.88% | 6.32% | — | 18.68% | 13.76% | 18.48% |
10–15 มีนาคม พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,020 | 7.03% | 25.89% | 16.24% | 7.97% | — | 28.86% | 14.01% | 9.65% |
15–21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,504 | 8.99% | 23.52% | 13.18% | 7.15% | — | 37.14% | 10.02% | 10.34% |
25–28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | สวนดุสิตโพล | 1,186 | 24.61% | 32.94% | 25.21% | 6.18% | — | — | 11.06% | 7.73% |
20–23 กันยายน พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,018 | 9.51% | 22.50% | 15.11% | 7.78% | — | 35.68% | 8.03% | 7.39% |
11–16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,515 | 10.70% | 19.48% | 14.51% | 9.54% | — | 32.68% | 10.62% | 4.97% |
23–26 มีนาคม พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,522 | 16.65% | 22.13% | 13.48% | 7.10% | — | 29.82% | 10.82% | 5.48% |
20–23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,533 | 17.80% | 23.61% | 14.92% | 7.46% | — | 26.49% | 9.72% | 5.81% |
18–23 กันยายน พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,527 | 12.39% | 19.39% | 12.70% | 7.44% | — | 41.59% | 6.49% | 7.00% |
22–24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,517 | 15.73% | 20.70% | 13.47% | 7.75% | — | 32.38% | 32.40% | 4.97% |
18–20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | นิด้าโพล | 2,511 | 16.69% | 19.95% | 30.27% | 10.83% | — | 13.46% | 22.30% | 11.0% |
นายกรัฐมนตรีที่ต้องการ[แก้]
ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | ประยุทธ์ | แพทองธาร | พิธา | จุรินทร์ | เสรีพิศุทธ์ | กรณ์ | สุดารัตน์ | ยังไม่มี | อื่น ๆ | คะแนนนำ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
17–22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,000 | 14.05% | 34.00% | 13.25% | 2.30% | 6.00% | 2.65% | 6.45% | 8.25% | 13.05% | 19.95% |
15–21 กันยายน พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,500 | 10.12% | 21.60% | 10.56% | 1.68% | 6.28% | 2.12% | 9.12% | 24.16% | 14.36% | 11.04% |
20–23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,500 | 11.68% | 25.28% | 13.24% | 1.56% | 6.60% | 3.76% | 6.80% | 18.68% | 12.40% | 12.04% |
10–15 มีนาคม พ.ศ. 2565 | นิด้าโพล | 2,020 | 12.67% | 12.53% | 13.42% | 2.58% | 7.03% | 2.77% | 8.22% | 27.62% | 13.16% | 0.75% |
15–21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,504 | 16.93% | 10.55% | 10.74% | 1.84% | 4.83% | 2.63% | 5.51% | 36.54% | 10.70% | 6.19% |
25–28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | 1,186 | 21.27% | — | 28.67% | — | — | — | 19.35% | — | 15.78% | 7.40% | |
20–23 กันยายน พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,018 | 17.54% | — | 11.05% | 1.54% | 9.07% | 2.58% | 11.15% | 32.61% | 16.00% | 6.39% |
11–16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,515 | 19.32% | — | 5.45% | 1.47% | 8.71% | 3.62% | 13.64% | 37.65% | 11.61% | 5.68% |
23–26 มีนาคม พ.ศ. 2564 | นิด้าโพล | 2,522 | 28.79% | — | 6.26% | 0.99% | 8.72% | 2.70% | 12.09% | 30.10% | 41.44% | 16.70% |
20–23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,533 | 30.32% | — | 7.74% | 0.63% | 7.50% | 1.65% | 13.46% | 32.10% | 39.33% | 16.86% |
18–23 กันยายน พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,527 | 18.64% | — | 5.70% | — | 3.92% | 1.54% | 10.57% | 54.13% | 5.50% | 8.07% |
22–24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | นิด้าโพล | 2,517 | 25.47% | — | 3.93% | 0.83% | 4.57% | 1.67% | 8.07% | 44.06% | 12.23% | 17.40% |
ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | ประยุทธ์ | แพทองธาร | ธนาธร | จุรินทร์ | เสรีพิศุทธ์ | กรณ์ | สุดารัตน์ | ยังไม่ตัดสินใจ | คนอื่น | คะแนนนำ |
18–20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | นิด้าโพล | 2,511 | 23.74% | — | 31.42% | 2.47% | 3.90% | 0.04% | 11.95% | 17.32% | 9.20% | 7.68% |
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคก้าวไกล เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคอนาคตใหม่เคยได้รับ
- ↑ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ประยุทธ์เป็นผู้ที่พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เขามิได้เป็นสมาชิกพรรคดังกล่าว ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Thailand sets May 7, 2023 as the tentative date of next general election".
- ↑ "Election Commission sets May 7 as date for next general election". Bangkok Post.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Pheu Thai Party names 'Ung-ing' as PM candidate". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-31.
- ↑ "'ประยุทธ์' ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรครวมไทยสร้างชาติแล้ว". workpointTODAY.
- ↑ "กางไทม์ไลน์ กกต. เลือกตั้งปี 2566 นับถอยหลังสภาหมดวาระ". THE STANDARD. 2022-09-22.
- ↑ Thongsak (2022-09-21). "กกต.เคาะ 7 พ.ค.2566 เลือกตั้งใหญ่หากสภาอยู่ครบวาระ!".
- ↑ "Thailand: Junta Bans Referendum Monitoring". Human Rights Watch. New York: Human Rights Watch. 2016-06-21. สืบค้นเมื่อ 2016-07-05.
- ↑ "ทนายดังมอบตัวสู้คดีทำผิด พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติ". Matichon Online. Bangkok: มติชน. 2016-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 2016-07-17.
- ↑ "Thai Senate to be appointed at junta's behest". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2018-11-30). "Parties Fume Over New 'Gerrymandered' Electoral Map". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut counts on his allies". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "PM defies efforts to oust him from office". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-05-08.
- ↑ Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2021-12-30). "Prawit Says He's Willing to Serve With Prayut Till '2027'". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2021-12-29). "ฝ่าย ก.ม. ชี้วาระ 8 ปี 'ประยุทธ์' ลากยาวได้ถึงปี 2570". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Thailand's New Electoral System Thai Data Points
- ↑ Thongnoi, Jitsiree; Jaipragas, Bhavan (22 March 2019). "Thai election a battle royale for junta's Prayuth and the Shinawatras". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
- ↑ 17.0 17.1 https://www.pptvhd36.com. "อธิบายความต่างการเลือกตั้งบัตร 2 ใบ ที่สภาเพิ่งเห็นชอบผ่าน 3 วาระรวด". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "Thai Parliament passes election changes favouring ruling party". The Business Times (ภาษาอังกฤษ). 10 September 2021. สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
- ↑ "สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ : สภาล่มตามคาด ปิดม่านสูตรหาร 500 กลับไปใช้สูตรหาร 100". BBC News ไทย. 15 August 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2022.
- ↑ "เปิดโมเดลรวมพรรคชพน.-กล้าเสริมจุดแข็งเศรษฐกิจ-สร้างกระแสปาร์ตี้ลิสต์". bangkokbiznews. 2022-09-02.
- ↑ "2 ส.กากี่นั้ง "สมคิด-สุดารัตน์" ลงตัวแบรนด์ใหม่ "สร้างไทย"". mgronline.com. 2023-01-07.
- ↑ "ไม่ได้ควบรวม 2 พรรค "สมคิด-สุดารัตน์" แถลงแค่จับมือเป็นพันธมิตรกัน". www.thairath.co.th. 2022-12-29.
- ↑ ""บัญญัติ" วิเคราะห์การเมืองไทย ฟันธงเลือกตั้งปี 66 ใช้เงินสู้เต็มรูปแบบ". โพสต์ทูเดย์. 3 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ https://www.pptvhd36.com. "ราชกิจจา ประกาศแล้ว! กฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "ด่วน! มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กฎหมายลูกเกี่ยวกับเลือกตั้ง 2 ฉบับแล้ว". thansettakij. 2023-01-28.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ กฎหมายเลือกตั้ง – พรรคการเมือง ให้มีผลบังคับหลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา". workpointTODAY.
- ↑ "นับถอยหลัง45วัน วัดใจนายกฯประยุทธ์ จะยุบสภาหรืออยู่ครบเทอม". posttoday. 2023-01-29.
- ↑ "กกต.ไฟเขียวรัฐบาล"ยุบสภา"ได้ คาดตั้งแต่ 15 มี.ค.ไร้ปัญหา". thansettakij. 2023-01-28.
- ↑ 29.0 29.1 "เปิดจำนวน ส.ส. 400 เขตเลือกตั้งใหม่ กทม.ยังมากสุด 33 คน". workpointTODAY.
- ↑ "เตรียมเลือกตั้ง ส.ส. หลังกกต.ประกาศแบ่งเขต 400 ที่นั่ง". thansettakij. 2022-02-04.
- ↑ "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
- ↑ "ปชป. สั่งทุกเขตเลือกตั้ง ติดป้าย "สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ" ทั่วประเทศ". www.thairath.co.th. 2022-12-30.
- ↑ "ไม่ต้องเหนียม"เลือกตั้ง66" รวมไทยสร้างชาติปล่อยภาพ"นายกฯประยุทธ์"รัวๆ". Nation Multimedia Group Public Company Limited. 2023-01-04.
- ↑ matichon (2022-12-10). "ครูใหญ่ ปักป้าย ประกาศตัวลงส.ส.ขอนแก่น ให้พรรคก้าวไกล". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ทุบสถิติ ส.ส.ลาออก ทิ้งเก้าอี้แล้ว 36 คน สภาฯ เหลือส.ส.แค่ 442 คน". workpointTODAY.
- ↑ "ฝ่ายค้านเปิดยุทธการ "ถอดหน้ากากคนดี" ยื่นซักฟอก 'ประยุทธ์-ครม.' แบบไม่ลงมติ". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ "รัฐพร้อมรับมือ "ซักฟอก" 15 ก.พ.เป็นต้นไป เตรียม 40 ประเด็นโต้ฝ่ายค้าน". ฐานเศรษฐกิจ. 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ "ข่าวลึกปมลับ : บิ๊กตู่ลุยเต็มสูบ เปิดคิวยุบสภา". mgronline.com. 2023-01-10.
- ↑ "ฝ่ายค้าน ดักคออย่าชิง 'ยุบสภาฯ' หนีก่อน สภาฯ คาดเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ต้นเดือน ก.พ.นี้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ (2023-01-19). "ตี ป.ปลาหน้าไซ แก้ รธน.นายกฯ อยู่เกิน 8 ปี ยุบสภาหนี 'ซักฟอก'". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ isranews (2023-01-12). "'ณัฐวุฒิ' ประกาศพบเวทีใหญ่พท. 15 ม.ค. ที่อุดร จวก 'รทสช.' เป็นเหล้าเก่าในขวดแตก". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "สว.แบไต๋ เสนอ'แก้รัฐธรรมนูญ'ปลดล็อกนายกฯ8ปี". คมชัดลึกออนไลน์. 13 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-01-13). "'ดิเรกฤทธิ์' แตะเบรกปลดล็อกวาระ 8 ปี 'ประยุทธ์' แค่ความเห็นบางคน ไม่ใช่ ส.ว. ทั้งหมด". VoiceTV.
- ↑ "แถลงการณ์ 'เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566' ขอ ปชช.จับตา-รบ.คุ้มครองเสรีภาพ". The MATTER. 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "ตะวัน แบม : การอดอาหารประท้วงระลอก 3 ของนักกิจกรรมคดีหมิ่นสถาบันฯ". BBC News ไทย. 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "พรรคร่วมฝ่ายค้าน ออกแถลงการณ์กรณี แบม-ตะวัน อดอาหารแลกอิสรภาพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "'ราษฎร' ร้อง 'เพื่อไทย' รับ 3 ข้อ #แบมตะวัน แกนนำพรรครับฟัง ชี้แก้ ม.116 ทำได้ ยันต้องปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.