ประมวล กุลมาตย์
ประมวล กุลมาตย์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร |
เสียชีวิต | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (69 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | นางศรีรัตน์ (ไชยาคำ) กุลมาตย์ |
นายประมวล กุลมาตย์ (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 5 สมัย
ประวัติ[แก้]
นายประมวล กุลมาตย์ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็นบุตรของนายวิวัฒน์ (ฮก) และ นาง ขาว กุลมาตย์[1] สำเร็จการศึกษา ระดับอนุปริญญา สาขานิติศาสตร จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับนางศรีรัตน์ ไชยาคำ มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน
การทำงาน[แก้]
ประมวล ประกอบอาชีพรับราชการครู ในโรงเรียนสวนศรีวิทยา และ โรงเรียนศรียาภัย ก่อนที่จะลาออกมาเปิดโรงเรียนประมวลวิทยา ซึ่งเป็นกิจการของตนเอง จากนั้น ได้กลับมารับราชการ ในตำแหน่งปลัด โดยดำรงตำแหน่งในหลายอำเภอ อาทิ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และต่อมา ได้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ซึ่งก็ดำรงตำแหน่งในหลายอำเภอ เช่นกัน
งานการเมือง[แก้]
ประมวล ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2522 รวม 5 สมัย
ประมวล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] และได้รับโปรดเกล้าฯ ได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2522[3]
ประมวล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสยามประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2526 และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ประมวล กุลมาตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดชุมพร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคธรรมสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดชุมพร ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
ประมวล กุลมาตย์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527 สิริอายุรวม 69 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2526 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2522 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2507 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสรรเสริญ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร. วัชระ ศิลป์เสวตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2556
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2458
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2527
- บุคคลจากอำเภอหลังสวน
- ครูชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคสหชีพ
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคสหประชาธิปไตย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้