ข้ามไปเนื้อหา

สุตสาย หัสดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุตสาย หัสดิน
สุตสาย ในปี พ.ศ. 2517
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524
(283 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 สิงหาคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต12 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (80 ปี)

พลตรี สุตสาย หัสดิน (28 สิงหาคม พ.ศ. 2463 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2544) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตหัวหน้าขบวนการกระทิงแดง[1] ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วน

[แก้]

พล.ต. สุตสาย หัสดิน เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เป็นบุตรของพระยาหัสดินอำนวยศาสตร์ธรรมวิลาศสวรสภาบดี (สาย วณิกนันทน์) และคุณหญิงหัสดินอำนวยศาสตร์ (เลื่อน วณิกนันทน์)

พล.ต. สุตสาย สมรสกับนางอรนุช หัสดิน มีบุตร - ธิดา ทั้งหมด 8 คน

การศึกษา

[แก้]
  • มัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • โรงเรียนนายร้อยเท็ฆนิคทหารบกรุ่นที่ 5
  • หลักสูตรผู้บังคับกองร้อยทหารม้ายานเกราะ
  • หลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารม้ายานเกราะชั้นสูงที่ ค่ายนอด รัฐเคนทักกี ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • วิทยาลัยการบังคับบัญชาและเจ้าหน้าเควตตา หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ประเทศปากีสถาน
  • หลักสูตรการรบพิเศษชั้นผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอำนวยการรุ่นที่ 1
  • หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหาร
  • หลักสูตรโรงเรียนสงครามจิตวิทยาขั้นสูงที่ฟอร์ดแบรค ค่ายโคโลไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรโรงเรียนปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน ค่ายกอร์ดอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก

การทำงาน

[แก้]

พล.ต.สุตสาย เคยรับราชการทหาร และเคยเป็นแกนนำก่อตั้งขบวนการกระทิงแดง ในช่วงปี พ.ศ. 2517 ในขณะดำรงตำแหน่งนายทหารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2518 พล.ต.สุตสาย ได้รวบรวมสมาชิกกว่า 25,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาอาชีวะ เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการเดินขบวนประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร แต่แตกกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพราะเห็นว่ากลุ่มดังกล่าวรับแนวคิดคอมมิวนิสต์มาอย่างชัดเจน[2] ขบวนการกระทิงแดง นำโดย พล.ต.สุตสาย เป็นกองเยาวชนของขบวนการนวพล[3]

ในปี พ.ศ. 2524 พล.ต.สุตสาย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[4] ต่อมาในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน พล.ต.สุตสาย พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 7 คน ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีคณะดังกล่าว[5]

การถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พล.ต. สุดสาย หัสดิน ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าอันเนื่องจากโรคเบาหวานและไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เวลา 15.00 น. สิริอายุรวม 80 ปี 11 เดือน 15 วัน

พล.ต. สุตสาย ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2544

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Glassman, Jim, Thailand at the Margins: Internationalization of the State and the Transformation of Labour (2004), p. 68.
  2. "October 1976 Coup", GlobalSecurity.org.
  3. Harris, Nigel "Thailand: The Army Resumes Command" Notes of the Month, International Socialism (1st series), No.93, November/December 1976, pp.8-9.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓