รัชตะ รัชตะนาวิน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ |
ถัดไป | ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม – 28 สิงหาคม 2557 | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มกราคม 2555 – 31 ธันวาคม 2557 | |
ก่อนหน้า | ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
ถัดไป | อุดม คชินทร |
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 2548–2554 | |
ก่อนหน้า | ประกิต วาทีสาธกกิจ |
ถัดไป | วินิต พัวประดิษฐ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2493 |
คู่สมรส | ณัฏฐา รัชตะนาวิน |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน (13 สิงหาคม 2493 - ) นักการเมือง แพทย์ และ นักวิชาการชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีต ประธานกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[1] เป็น กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2]ในรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษา[แก้]
รัชตะ รัชตะนาวิน จบการศึกษาจาก Fellow of the American College of Endocrinology, Fellow in Endocrinology, University of Massachusetts Medical School, U.S.A., อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ, วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และแพทยสภา, อนุมัติบัตรสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว จากแพทยสภา, ประกาศนียบัตรชั้นสูงสาขาอายุรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล, แพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[3] รัชตะ รัชตะนาวิน สมรสแล้วกับ รศ.พญ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต[แก้]
รัชตะ รัชตะนาวิน เคยทำหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2542 – 2547), อนุกรรมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมอันตรายในการใช้ยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2538 – 2542), ประธานวิชาการราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547 – 2548), กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2543 – 2547), อุปนายกสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2545 – 2547) และประธานวิชาการ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2535 – 2543)[4]และเคยได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2548 ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ คู่กับ บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน[แก้]
รัชตะ รัชตะนาวิน ได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการ scientific advisory committee มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการในคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ[5]
รัชตะ รัชตะนาวิน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555[6]
ได้รับเลือกให้เป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประจำปี 2557 [7]
ในปี 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8] วันที่ 31 สิงหาคม 2557 รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา[9]
วันที่ 17 กันยายน 2557 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เขาเลือกระหว่างตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรืออธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยก่อนหน้านี้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัย 2 คนที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี คือ ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ และ กฤษณพงศ์ กีรติกร ซึ่งทั้งคู่ลาออกจากตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยแล้ว[10]
วันที่ 20 กันยายน 2557 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จำนวน 7 ราย[11] และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ จำนวน 7 ราย[12]
วันที่ 15 ตุลาคม 2557 รัชตะ รัชตะนาวินได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้มอบหมายให้ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้แต่งตั้ง ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ ซึ่งจะต้องดำเนินการสรรหาและเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2557 จำนวน 3 คน เพื่อให้สภาคัดเลือก เพื่อนำรายชื่อโปรดเกล้าฯ ต่อไป[13]
วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยา จำนวน 9 ราย[14] วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องสำอาง จำนวน 6 ราย[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
รัชตะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้[16]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2559 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[19]
- พ.ศ. 2551 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[20]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/018/6.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/159/T_0006.PDF
- ↑ "รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี (การศึกษา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
- ↑ "รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี (ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
- ↑ "รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี (ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
- ↑ [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/028/3.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (นายรัชตะ รัชตะนาวิน)
- ↑ http://www.mcot.net/site/content?id=52b6a5b7150ba02c7c0002bd#.UvTrIfmSzDQ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/187/18.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/187/17.PDF
- ↑ [2]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/231/31.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/242/17.PDF
- ↑ "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓๔, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า | รัชตะ รัชตะนาวิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประดิษฐ สินธวณรงค์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
![]() |
ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา