ชูศักดิ์ ศิรินิล
รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 17 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | ทิพาวดี เมฆสวรรค์ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล |
ถัดไป | สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุพล ฟองงาม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 (72 ปี) อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544-2550) พลังประชาชน (2550-2551) เพื่อไทย (2556-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นางประภาพรรณ ศิรินิล |
ศาสนา | พุทธ |
รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติ[แก้]
ชูศักดิ์ ศิรินิล เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร[1] เป็นบุตรของนายเชื่อม-นางส้มล้ำ ศิรินิล สมรสกับนางประภาพรรณ ศิรินิล มีบุตร 2 คน คือ ทพญ.นฤมล ผลประเสริฐ และ แพทย์หญิง ดลฤดี ศิรินิล
รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา) และระดับปริญญาโท สาขากฎหมายเปรียบเทียบ จาก Southern Methodist University, Dallas, รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน[แก้]
รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2515 เรื่อยมาจนกระทั่งได้รับตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2535 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก 2 สมัยติดต่อกัน ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537[2] โดยภารกิจซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือ การอนุญาตให้นักศึกษาจัดการชุมนุมร่วมกับประชาชน ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ระหว่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นอกจากการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกด้วย
นอกเหนือจากการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ปัจจุบันคือ ป.ป.ช. และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
งานการเมือง[แก้]
รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมงานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 และยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะ ต่อมาภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2549 รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค
ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานด้านกฎหมาย ต่อมาภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล จึงได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3]
ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 22[5]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 12[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2541 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[7]
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 215/2551 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
- ↑ เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร “พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ” ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
ก่อนหน้า | ชูศักดิ์ ศิรินิล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ |
![]() |
![]() รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551) |
![]() |
สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุพล ฟองงาม |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- บุคคลจากจังหวัดพิจิตร
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน