กระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)
กระทรวงแรงงาน ราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
![]() | |
เครื่องหมายราชการกระทรวงแรงงาน | |
ที่ทำการ | |
ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 23 กันยายน พ.ศ. 2536 |
สืบทอดจาก | กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม |
งบประมาณ | 33,832.7164 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
รัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล, รัฐมนตรีว่าการ |
ผู้บริหารหลัก | สุทธิ สุโกศล, ปลัดกระทรวง นายแพทย์ สุรเดช วลีอิทธิกุล, รองปลัดกระทรวง วิวัฒน์ จิระพันธุ์วานิช, รองปลัดกระทรวง พ.ต.ต.หญิง รมยง สุรกิจบรรหาร, รองปลัดกระทรวง |
ลูกสังกัด | ดูในบทความ |
เว็บไซต์ | |
www.mol.go.th |
กระทรวงแรงงาน (อังกฤษ: Ministry of Labour) เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศไทย เดิมคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประวัติ[แก้]
การดำเนินนโยบายด้านแรงงานของประเทศไทย เริ่มต้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประชาชนจึงเกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก หน่วยงานของรัฐบาลที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" จึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[2] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจด้านแรงงานของรัฐบาลไทย
ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจบางส่วนจากกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย[4] มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกระทรวงอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กระทรวงแรงงาน
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานในสังกัด ได้แก่
ส่วนราชการ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- กรมการจัดหางาน
- กรมสร้างอาชีพและพัฒนาอาชีพ
- สำนักงานประกันสังคม
องค์การมหาชน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ พระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักงานจัดหางาน พุทธศักราช ๒๔๗๕
- ↑ พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๕
- ↑ พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๘ เล่ม 132 ตอนที่ 43 ก หน้า 17 วันที่ 21 พฤษภาคม 2558
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|