มือตบ
มือตบ เป็นอุปกรณ์เชียร์กีฬาที่ทำด้วยพลาสติกสีสดใส รูปร่างเลียนแบบมือของมนุษย์ 3 ชั้นยึดติดกัน มีด้ามจับ เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังจากชิ้นพลาสติกที่กระทบกัน คล้ายเสียงปรบมือ ใช้ตบทำเสียงแทนการตบมือ
มือตบผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน ผลิตออกมาเพื่อสำหรับเด็กเล่น จนกระทั่ง ค.ศ. 1963 สหรัฐอเมริกาได้นำมือตบนี้ไปใช้ในการเชียร์กีฬาแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เมื่อถึงปี ค.ศ. 1984 สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 23 กองทัพนักกีฬาและกองเชียร์ของประเทศจีนได้ใช้เมื่อตบในการเชียร์ ทำให้คนอเมริกาเริ่มหันมาสนใจมือตบและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยเป็นที่นิยมใช้ในการเชียร์บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ[1] ในทวีปเอเชีย เริ่มใช้ในประเทศจีนในการเชียร์มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง
การใช้มือตบในการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย
[แก้]สำหรับในประเทศไทย มือตบเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างมากในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551[2] เริ่มเป็นที่นิยมเมื่อ อัญชะลี ไพรีรัก และกมลพร วรกุล นำมาใช้ขณะจัดรายการเล่าข่าว ออกอากาศทาง ASTV และเมื่อพลตรีจำลอง ศรีเมือง นำขึ้นมาใช้บนเวที เพื่อตอบโต้นายสมัคร สุนทรเวช ที่กล่าวหาว่า มี "มือที่มองไม่เห็น" อยู่เบื้องหลังการชุมนุมของพันธมิตรฯ[3]
ผู้เข้าร่วมชุมนุมนอกจากจะซื้อใช้ในการเชียร์การปราศรัยบนเวทีแล้ว ยังซื้อกลับมาฝากคนที่รู้จักหรือลูกหลาน หรือใช้ในงานเลี้ยง[4] ถึงขนาดมือตบขาดแคลน[5] และมีการทำเสื้อยืดลาย นักรบมือตบ ออกมาจำหน่าย มีผู้เปรียบเทียบว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้แบบอารยะขัดขืน ของผู้ชุมนุม[6]
นอกจากนี้แล้ว มือตบยังเป็นอุปกรณ์ใช้ในการขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และบุคคลในวงการต่าง ๆ ที่รับใช้ระบอบทักษิณ เมื่อไปตามสถานที่ต่าง ๆ อีกด้วย
เท้าตบ-หัวใจตบ
[แก้]ปัจจุบันกลุ่มคนเสื้อแดงได้มีการสร้างเท้าตบขึ้นมาใช้ โดยกลุ่มต่อต้านพันธมิตร เพื่อเป็นการแก้ทางมือตบ[7] โดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อล้อเลียนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย [8] โดยกล่าวว่าเท้าตบนั้นเสมือนเป็นจุดยืน และได้มีการสร้างอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกับเท้าตบขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งคือหัวใจตบ
ทั้งนี้ เท้าตบและหัวใจตบที่เป็นพลาสติกจะเป็นสีแดงตามสีของกลุ่ม แต่ก็มีเท้าตบที่เป็นแบบยางที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จะมีพื้นเป็นสีขาวและมีใบหน้าของแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ[9] แต่เท้าตบแบบยางไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากมีราคาที่แพงกว่าแบบพลาสติกและเสียงไม่ดังเท่า โดยเท้าตบที่ถูกนำมาใช้ในการชุมนุมของ นปช. และเสื้อแดง จะมีสีแดงเพียงสีเดียว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'มือ(ตบ)ที่สาม' สีสันแห่งการต่อสู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
- ↑ "ความเป็นมามือตบเท้าตบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
- ↑ "แกะรอย "มือตบ" จากขอบสนามสู่ปรากฏการณ์กู้ชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-09-24.
- ↑ A big hand for the PAD supporter บางกอกโพสต์ 20 กันยายน 2551
- ↑ "มือตบ" ฮิต!! เริ่มขาดตลาด สำเนาจาก ผู้จัดการ 5 กันยายน 2551
- ↑ หมีพูห์กู้ชาติ ปะทะ มือตบสยบมาร เก็บถาวร 2020-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ 1 กันยายน 2551
- ↑ "นปช.เชียงใหม่เร่งทำเท้าตบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ↑ ม็อบเสื้อแดงชู"เท้าตบ"สู้"มือตบ" พันธมิตร[ลิงก์เสีย]
- ↑ นปช. เชียงใหม่ เร่งทำเท้าตบ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Williamson, Lucy (2008-10-30). "Thai protesters snap up 'clappers'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2008-11-01.
- Falby, Patrick (2008-10-22). "Plastic clappers a must-have for Thai protesters". AFP via Google News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-28. สืบค้นเมื่อ 2008-11-09.
- ภาพวิดีโอ การใช้ hand clapper เชียร์กีฬาในสหรัฐอเมริกา จากยูทูบ
- เพลงนักรบมือตบ เก็บถาวร 2008-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ของตั้ว ศรัญญู วงศ์กระจ่าง ซูซู และเศก ศักดิ์สิทธิ์