วีระกร คำประกอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วีระกร คำประกอบ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2566-ปัจจุบัน)

นายวีระกร คำประกอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 8 สมัย เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย

ประวัติ[แก้]

วีระกร คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร[1] เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กับนางมะลิ คำประกอบ มีพี่น้องอีก 2 คน คือ นายภานุวัฒน์ คำประกอบ และนายดิสทัต คำประกอบ[2]

วีระกร คำประกอบ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขาเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 ระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยังส์ทาวน์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส อาร์ลิงตัน[1]

การทำงาน[แก้]

วีระกร คำประกอบ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 5 สมัย ในปี พ.ศ. 2531 จนถึงปี พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคต่างๆ อาทิ พรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย และพรรคความหวังใหม่ ตามลำดับ ยกเว้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เพียงครั้งเดียว ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนายสมควร โอบอ้อม จากพรรคชาติไทย กระทั่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2550 เขาเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

วีระกร เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่

ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายวีระกรได้เข้ามาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ต่อมาในปี 2566 เขาได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย[4]

หลังจากย้ายเข้า พรรคภูมิใจไทย ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 2 แต่เขาไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ่ายแพ้ให้กับ นายทรงศักดิ์ สงเสริมอุดมชัย จากพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายดิสทัต คำประกอบ[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. ‘วีระกร’ ประกาศลาออกกลางสภา ทีม พปชร.นครสวรรค์แตกยับ หนีเข้า ภท.-ย้ายตามบิ๊กตู่
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙