ข้ามไปเนื้อหา

เฉลิม พรมมาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉลิม พรมมาส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ก่อนหน้าจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ถัดไปพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2439
เสียชีวิต26 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (78 ปี)

ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ เฉลิม พรมมาส หรือ หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ (19 สิงหาคม พ.ศ. 2439 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) แพทย์ชาวไทย อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ประวัติ

[แก้]

น.พ.เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2439 บ้านเกิดเป็นชาวจังหวัดตาก ต่อมาได้เข้ามาศึกษาและจบชั้นมัธยมที่ ร.ร.เทพศิรินทร์ น.พ.เฉลิมเป็นนักศึกษาที่ผลการเรียนดีเป็นที่หนึ่งมาตลอด จบการศึกษาแพทยศาสตร์ จากศิริราช และได้ทุนสมเด็จพระบรมราชชนก ไปเรียนต่อด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอบกิ้นและเป็นคนไทยคนแรกที่จบวิชานี้จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอบกิ้นโดยผลการเรียนอยู่ในอันดับต้นๆจนเป็นที่ยอมรับของอาจารย์ทุกท่าน เมื่อกลับเมืองไทยต่อมาได้ร่วมมือกับนายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่างค้นพบวงจรชีวิตพยาธิตัวจี๊ดเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับและยกย่องให้เป็นผู้ค้นพบคนแรก เคยเป็นผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2500[1] และได้รับแต่งตั้งให้รักษาการคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2500 ต่อมาในปีเดียวกันได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน[2][3] และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร รวม 2 สมัยตามลำดับ

เฉลิม พรมมาส เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2518[4]

ผลงาน

[แก้]

น.พ.เฉลิม พรมมาส ในฐานะผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ขอความร่วมมือจากพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) และท่านอื่นๆอีกหลายท่าน ในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2490 และแห่งที่สามที่เชียงใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เทิดพระนาม มหิดล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-05.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  4. ข่าวเสียชีวิต[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๒, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๑๔๑, ๔ เมษายน ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๘, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๙๕, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
ก่อนหน้า เฉลิม พรมมาส ถัดไป
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(21 กันยายน พ.ศ. 2500 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 สมัยแรก
1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 สมัยที่สอง)
พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)