ข้ามไปเนื้อหา

อุดมเดช รัตนเสถียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดมเดช รัตนเสถียร
รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2566
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล
ดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน พ.ศ. 2554 – 9 มกราคม พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าวิทยา แก้วภราดัย
ถัดไปอำนวย คลังผา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ถัดไปวิฑูรย์ นามบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 (65 ปี)
จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2563)
ไทยสร้างไทย (2564– ปัจจุบัน)
คู่สมรสพัชรา รัตนเสถียร
บุตรภัทร รัตนเสถียร
ภัทรัตน์ รัตนเสถียร

อุดมเดช รัตนเสถียร (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตประธานวิปรัฐบาล[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 7 สมัย อีกทั้งยังเป็นอดีต สส.ในกลุ่ม 16[2]

ประวัติ

[แก้]

อุดมเดช รัตนเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี[3] เป็นบุตรของร้อยเอก ชโลม รัตนเสถียร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี กับ นางพรรณี รัตนเสถียร ชีวิตครอบครัวสมรส กับ นางพัชรา รัตนเสถียร (สกุลเดิม: กลิ่นสุคนธ์) มีบุตรชาย 2 คน คือ

  1. ภัทร รัตนเสถียร
  2. ภัทรัตน์ รัตนเสถียร

การศึกษา

[แก้]

อุดมเดช รัตนเสถียร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้นยังได้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระดับสูงจากสถาบันพระปกเกล้า รุ่น 1

ด้านการเมือง

[แก้]

นายอุดมเดช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535/1 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย และพรรคไทยสร้างไทย ตามลำดับ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2544, 2548, 2550, 2554

อุดมเดช รัตนเสถียร เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม 16[4] นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ

  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และได้ลาออกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 25[6]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [7]

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งส่งผลให้เขา ถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ เป็นเวลา 5 ปี [8]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

อุดมเดช รัตนเสถียร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคพลังธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2535 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคพลังธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคพลังประชาชน
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนนทบุรี สังกัด พรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พท.มีมติตั้ง "อุดมเดช รัตนเสถียร" นั่ง ปธ.วิปรัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07.
  2. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  8. ""นริศร-อุดมเดช" ไม่รอด! สนช.ถอดพ้น ส.ส.คดีเสียบบัตรแทน-สับร่างแก้ รธน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-05. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘