เทียนชัย สิริสัมพันธ์
พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., ม.ร., ภ.ป.ร.2 | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | พลเอกมานะ รัตนโกเศศ |
ถัดไป | ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (96 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคราษฎร (2529-2535) |
คู่สมรส | คุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (19 มีนาคม พ.ศ. 2467 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตหัวหน้าพรรคราษฎร
ประวัติ[แก้]
พลเอกเทียนชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทบ.) จากโรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบกรุ่นที่ 5 (ตทบ.5 หรือที่เรียกว่า รุ่นห้าใหญ่ <มีมาก่อน รร.จปร. และก่อน รร.เตรียมทหาร> รุ่นเดียวกับ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก, พลอากาศเอกประพันธ์ ธูปะเตมีย์, พลเอกหาญ ลีนานนท์, พลเอกชำนาญ นิลวิเศษ, พลเอกมานะ รัตนโกเศศ) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่นที่ 16)
พลเอกเทียนชัยสมรสกับคุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์ มีบุตรธิดา คือ พลตรีสิทธิชัย สิริสัมพันธ์, พลตรีหญิงสุนันทา สิริสัมพันธ์, พลเอกวุฒิชัย สิริสัมพันธ์ และศจีจันท สิริสัมพันธ์
พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สิริอายุ 96 ปี[1]
การทำงาน[แก้]
พลเอกเทียนชัยเริ่มรับราชการเป็นทหาร สังกัดกองทัพบก ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษป่าหวาย และเป็นผู้ก่อตั้งหน่วยทหารหน่วยนี้ จนได้รับฉายา ”เจ้าพ่อป่าหวาย” ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาดินแดน และรองผู้บัญชาการทหารบก ในระหว่างรับราชการทหาร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปราบสลัดอากาศ และยับยั้งการปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญ คือ กบฏทหารนอกราชการ (กบฏ 9 กันยา) ซึ่งพลตรีมนูญกฤต รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการไปราชการต่างประเทศ พร้อมกับพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพลเอกเทียนชัย ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบก ได้รวมตัวกันต่อต้าน และควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา
หลังจากเกษียณอายุราชการได้เข้าทำงานทางการเมืองร่วมกับพลเอกมานะ รัตนโกเศศ ก่อตั้งพรรคราษฎร (เปลี่ยนชื่อจากพรรคสหชาติ) จนได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[2] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[3] และดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2533[4] นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6]
พลเอกเทียนชัยได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และมีความสนใจในด้านกีฬามวยไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสหพันธ์สหพันธ์สมาคมมวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ และเป็นประธานที่ปรึกษาของสมาคมครูมวยไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2526 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2523 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2532 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[10]
- พ.ศ. 2532 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[11]
- พ.ศ. 2501 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2497 -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สิ้นเจ้าพ่อป่าหวาย ‘พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์’ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 96 ปี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เล่ม 100 ตอน 207 ฉบับพิเศษ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2526
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 36 เล่ม 97 ตอนที่ 188 วันที่ 5 ธันวาคม 2523
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเล่ม 107 ตอน 55 ง 5 เมษายน พ.ศ. 2533 หน้า 2659
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เล่ม 106 ตอน 118 ง ฉบับพิเศษ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 หน้า 2
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สกุลศิริสัมพันธ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ