ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้ามงคล กิมสูญจันทร์
ถัดไปศิริพงษ์ รัสมี
เขตเลือกตั้งเขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก (2550–2554)
เขตหนองจอก (2554–2556)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2522–2542)
ไทยรักไทย (2543–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
เพื่อไทย (2551–2560, 2561–ปัจจุบัน)

นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 19 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ มีชื่อเล่นว่า "มินนี่" เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายหุย แซ่เอี้ยว และนางเง็กซุ้น แซ่ตั้ว มีพี่น้อง 5 คน อาทินายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ ส.ก. เขตหนองจอก ครอบครัวเป็นเจ้าของโรงสีไฟกิจเจริญ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริกและปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสแล้ว มีบุตรรวม 5 คน

งานการเมือง[แก้]

ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ อดีตเป็นสมาชิกสภาเขตหนองจอก 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงปี 2549 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

เคยเกิดกรณีต่อว่านางรสนา โตสิตระกูล ในที่ประชุมรัฐสภา ระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอกจากนั้นเป็นนักเขียนในนิตยสารเสียงทักษิณ

ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เขามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนในคดีที่พกพาอาวุธปืนข่มขู่เจ้าหน้าที่[1]ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เขาเข้าร่วมปราศัยกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 'ไพโรจน์'มอบตัวพงส.หนองจอกแล้ว
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]