ข้ามไปเนื้อหา

เอนก ทับสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนก ทับสุวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2501–ปัจจุบัน)
คู่สมรสทัศนีย์ ทับสุวรรณ

เอนก ทับสุวรรณ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2480) อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร

ประวัติ

[แก้]

เอนก ทับสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย [2]สมรสกับนางทัศนีย์ ทับสุวรรณ มีบุตร 3 คน[3] คนหนึ่งเป็นนักการเมือง คือ นายครรชิต ทับสุวรรณ

การทำงาน

[แก้]

เอนก ทับสุวรรณ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 7 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหลายสมัยโดยไม่เคยย้ายสังกัดพรรคการเมือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2530 ถึงปี พ.ศ. 2540 และเป็นที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา

เอนก ทับสุวรรณ เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2520 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2526 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2529 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2531[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

ต่อจากนั้นในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[5]เป็นสมัยที่ 2 และต่อมาจึงปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายครรชิต ทับสุวรรณ[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑